เจ้าของหลายคนคงสงสัยว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าสุนัขของเราเริ่มป่วยเป็นโรคหัวใจจริงๆ
แล้วโรคหัวใจนั้นมีทั้งแบบที่ไม่แสดงอาการและแบบที่แสดงอาการ
เราจะเริ่มสังเกตเห็นอาการก็ต่อเมื่อโรคหัวใจที่เป็นนั้นส่งผลต่ออวัยวะ
อื่นๆ แล้วถึงจะแสดงอาการให้เราเห็น
ปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการเป็นโรคหัวใจ
อายุ แบ่งเป็นโรคหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิด ซึ่งมักพบในสุนัขที่มีอายุน้อยกว่า
1ปี และโรคหัวใจที่เป็นภายหลัง มักพบในสุนัขที่อายุตั้งแต่ 6
ปีขึ้นไป
สายพันธุ์ มักพบว่าสุนัขพันธุ์ใหญ่ เช่น Doberman pinscher , Boxer มักพบว่ามีปัญหาเป็นโรคหัวใจจากการขยายขนาดของห้องหัวใจ ส่วนสุนัขพันธุ์
เล็ก เช่น Poodle, Pomeranian, Miniature
schnauzers, Chihuahua, Shitzu เป็นต้น
มักพบปัญหาของลิ้นหัวใจรั่วหรือปิดไม่สนิท
เพศ พบว่าไม่ว่าจะเป็นเพศผู้หรือเพศเมียก็มีโอกาสเป็นโรคหัวใจได้ไม่ต่างกัน
อาการที่พบ
** เหนื่อยง่าย
** มีอาการไอ
** หายใจลำบาก
** เป็นลม
หรือหมดสติ
** ท้องมาน
** มีภาวะบวมน้ำตามใต้ผิวหนังและอวัยวะส่วนปลาย
** เยื่อเมือกทั่วร่างกายเป็นสีม่วง
** การเจริญเติบโตช้าผิดปกติ
** น้ำหนักตัวลดลง
เมื่อพามาพบสัตวแพทย์
ก็จะทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อยืนยันว่าป่วยเป็นโรคหัวใจหรือไม่
1.การตรวจร่างกายทั่วไป เช่น ดูจากลักษณะการหายใจ
มีภาวะหายใจลำบาก อ้าปากหายใจ สีของเยื่อเมือก
เพราะหากมีภาวะขาดออกซิเจนเยื่อเมือกก็จะซีดหรือกลายเป็นสีม่วง
2.การฟังเสียงการเต้นของหัวใจ
พบลักษณะการเต้นของหัวใจด้วยเสียงที่ผิดปกติ ซึ่งเรียกว่า " Murmur " บางครั้งพบว่าการเต้นของหัวใจอาจไม่เป็นจังหวะ เช่น เต้นไม่สม่ำเสมอ
เต้นเร็ว/ช้ากว่าปกติ หรือ เสียงเบากว่าปกติ เป็นต้น
3.การฟังเสียงของการหายใจ เช่น
เสียงปอดที่มีลักษณะเสียงดังกว่าปกติ
หรือเสียงเหมือนมีลักษณะน้ำคั่งหรือน้ำท่วมปอด เป็นต้น
4.การตรวจลักษณะการเต้นของชีพจร
ดูว่ามีความสัมพันธ์กับการเต้นของหัวใจหรือไม่ ซึ่งถ้าไม่สัมพันธ์กัน
หรือชีพจรเบา/แรงกว่าปกติ แสดงถึงลักษณะความผิดปกติได้
5.การเอ็กซเรย์
เป็นการช่วยดูว่าภายในช่องอกนั้นมีความผิดปกติที่ส่วนใดบ้าง เช่น หลอดลม
ขนาดของหัวใจ และลักษณะเนื้อปอด เป็นต้น
6.การตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG หรือ Electrocardiogram)
เป็นการตรวจดูการนำไฟฟ้าภายในหัวใจ
ว่ามีลักษณะการเต้นผิดจังหวะหรือไม่ หรือ ดูอัตราการเต้นว่าเร็ว/ช้ากว่าปกติ
7.การอัลตร้าซาวน์หัวใจ (Echocardiography) เป็นการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงผ่านผนังช่องอก
ซึ่งในปัจจุบันถือว่าเป็นการวินิจฉัยที่มีความสำคัญมาก เพราะ
สามารถบอกความผิดปกติด้านกายภาพของหัวใจได้อย่างแม่นยำและยังช่วย
ประเมินความรุนแรงของความผิดปกติในด้านการทำงานของหัวใจได้อย่างดี เช่น
การตรวจดูลักษณะของลิ้นหัวใจ การ
ตีบของหลอดเลือดต่างๆที่หัวใจ การหนาตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ
การขยายขนาดของห้องหัวใจ และประสิทธิภาพในการบีบและคลายตัวของหัวใจ เป็นต้น
8.การตรวจอื่นๆ เช่น การตรวจเลือด การตรวจวัความดันเลือด
การตรวจพยาธิหนอนหัวใจ เป็นต้น
แหล่งที่มา ww.108health.com
(คัดข้อความมา)
เครดิตภาพ https://www.pinterest.com/ciaranconnolly/animals/
No comments:
Post a Comment