กระบวนการและขั้นตอน
เวลาสุนัขสองตัวจะกัดกัน
1 สุนัขเห็นคู่อริแล้วเกิดความตื่นเต้น
หูตั้ง ตาจ้อง ปากหุบ กระวนกระวาย กระบวนการนี้จะคงอยู่ประมาณ 2-4 วินาที ถ้าสุนัขไม่ได้รับการตักเตือนหรือหยุดภาวะอารมณ์
ก็จะพัฒนาไปสู่ขั้นที่ 2
2 สุนัขที่ตื่นเต้นจะเริ่มเข้าสู่ภาวะ
dominant คือการวางอำนาจเหนืออีกตัว
จะมาพร้อมภาษากายเพื่อท้าสู้ หูตั้ง ตาจ้อง โน้มตัวไปข้างหน้า ตัวแข็ง ขนหลัง
ขนคอตั้งชัน เริ่มขู่ แยกเขี้ยว เห่ากรรโชก พร้อมดึงสายจูงพุ่งตรงเข้าชาร์ต
กระบวนการนี้จะคงอยู่ประมาณ 1 -2 วินาที
เมื่อสุนัขส่งสัญญาณท้าสู้ไปให้อีกตัวรู้ ถ้าอีกตัวยอมจำนนไม่ได้มีภาวะวางอำนาจเหนือ
เขาก็จะแสดงภาษากายยอมแพ้ต่อสุนัขที่ท้าสู้ เพราะฉะนั้นการต่อสู้ก็จะไม่เกิดขึ้น แต่ถ้าเจอสุนัขที่มีภาวะวางอำนาจเหนือเหมือนกัน
เขาก็จะไม่มีภาษากายที่สื่อว่าเป็นการยอมกัน แล้วจะตอบโต้ด้วยภาษากายที่ท้าสู้กลับ
เมื่อนั้นการต่อสู้กันก็พร้อมจะเกิดทันที ถ้าสุนัขไม่ถูกห้าม ก็จะพัฒนาไปสู่ขึ้นที่
3
3 ภาวะอยากฆ่า
จะเกิดทันทีเมื่อสุนัขทั้งสองตัวไม่มีภาษากายยอมแพ้ ตอนนี้สุนัขจะหูบอด
แทบจะไร้ความรู้สึก ใครขวางทาง ก็จะถูกกัดโดยสัญชาตญาณ ถ้าสุนัขอยู่ในภาวะนี้ ก็ยากที่จะหยุดสำหรับคนธรรมดาทั่วๆไปที่ต้องการจะห้าม
กระบวนการทั้งหมดก่อนสุนัขจะกัดกัน
จะใช้เวลาไม่ถึง 8
วินาที ถ้าเรามัวแต่อ้อยอิ่ง มัวแต่อาย สับสน ตกใจ กรีดกร้าด แน่นอนสุนัขต้องฟัดกันกัดกัน
การเตือนสุนัขที่ได้ผลที่สุด
และสุนัขยังคงรับรู้ถึงการเตือนของเรา และเรายังปลอดภัย ก็คือ
การเตือนขณะที่สุนัขอยู่ในภาวะอารมณ์เริ่มๆ ตื่นเต้น คือ ขั้นที่ 1 (ใน3วินาทีแรก) คือเมื่อสุนัขเริ่มตื่นเต้น เราก็ต้องฉกเตือนหรือกระตุกสายจูงทันที
แล้วต้องทำจนจบ คือ เตือนจนกว่าสุนัขจะหันมามองเรา และไม่หันไปหาสุนัขเป้าหมายอีก หรือจนกว่าสุนัขจะกลับมาสู่ภาวะอารมณ์สงบผ่อนคลาย
คนส่วนใหญ่ทำครึ่งๆกลางๆ เตือนแค่ทีสองทีก็หยุดเสียแล้ว หรือ ตัวเองสติแตก
เริ่มโมโห เริ่มกลัวขึ้นมา ยิ่งทำให้เตือนสุนัขไม่ได้ผล ในที่สุดสุนัขเราก็ปล่อยให้สุนัขเข้าสู่ขั้น
2 และ3 จนกัดกัน ก็เพราะเราทำไม่จบ
ทำแค่ครึ่งๆกลางๆ ร่วมกับสติหลุด
ถ้าเมื่อสุนัขอยู่ในภาวะอารมณ์ขั้น
2 และ3 ยิ่งสุนัขอยู่ด้านหน้าเรา ดึงสายจูง
เตรียมตัวพุ่งทะยาน การที่เราดึงสายจูงกลับเหมือนชักเย่อ ร่วมกับสายจูงตึง
ยิ่งเพิ่มความเครียดให้สุนัขมากขึ้น เหมือนเราเติมเชื้อไฟให้สุนัขปะทุความรุนแรงเพิ่มขึ้น
ไวขึ้น ยิ่งเอามือไปจับหน้าสุนัขเพื่อให้หันหน้าหนี หรือ ไปฉกเขาจากทางด้านหลัง ยิ่งทำให้เสี่ยงที่สุนัขจะหันมากัดมือได้
เพราะสุนัขอยู่ในโหมดอยากฆ่าสุนัขอีกตัว อะไรก็ตามแต่ที่มาโดนตัว ก็ทำให้สุนัขหันมากัดได้
เราจะเห็นเหตุการณ์นี้ได้จาก สุนัขในบ้านสองตัวเห่าประตูเมื่อมีสุนัขคู่อริเดินผ่าน
เมื่อสุนัขในบ้านออกไปกัดสุนัขนอกประตูไม่ได้ สุนัขในบ้านก็กัดกันเอง หรือ เราไปแยกสุนัขตอนกัดกัน
ก็ทำให้เราเสี่ยงถูกกัดได้ เป็นต้น
สิ่งที่ต้องทำแล้วเรายังปลอดภัยคือ
- ใช้สายจูงควบคุมให้สุนัขหันหลังให้สุนัขอีกตัว
คือ ให้สุนัขกลับหันหลังออกจากสุนัขเป้าหมาย
- ระหว่างที่สุนัขละสายตาจากสุนัขเป้าหมาย
(ก่อนที่เขาจะหันกลับไปมองอีกรอบ) เราต้องรีบกระตุกสายจูงเตือนทันที
ขั้นตอนนี้เราต้องไว เพื่อเป็นการเรียกสติให้สุนัขกลับคืนมาที่เรา ให้เขาหันมองเรา
และเราต้องทำจนจบคือ ควบคุมไม่ให้สุนัขหันกลับไปมองสุนัขเป้าหมายได้อีก จนกว่าสุนัขจะกลับมาสู่ภาวะอารมณ์ผ่อนคลาย
นี่คือสิ่งที่ต้องทำ
แล้วจะปลอดภัยจากการถูกสุนัขกัดสวน
การที่จะแก้ปัญหาสุนัขก้าวร้าวกับสุนัขด้วยกัน
เราจะต้องเตือนให้สำเร็จในช่วงเวลาอื่นๆ ของวันด้วยถ้าเขามีอาการก้าวร้าวกับ สุนัขด้วยกัน
ทั้งเวลาเขาอยู่ในบ้าน และ เวลาพาเขาไปเดินนอกบ้าน ต้องเตือนให้สำเร็จทั้งสองสถานการณ์
การปรับพฤติกรรมให้หายอย่างถาวรนั้น
การเตือนเมื่อสุนัขอยู่ในรั้วบ้านก็ห้ามล้มเหลว อยู่นอกรั้วก็ห้ามล้มเหลว ถ้าในบ้านก็เตือนไม่ทัน
หรือ เตือนบ้างไม่เตือนบ้าน แต่จะเน้นเวลาพาสุนัขเดินนอกบ้านเท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่า
ไม่มีทางจะเตือนได้สำเร็จ ไม่มีทางที่พฤติกรรมจะหายถาวร เพราะถือเป็นการเตือนที่ไม่สม่ำเสมอ
กฎไม่เป็นกฎ เพราะปล่อยให้สุนัขแหกกฎได้เรื่อยๆ
เครดิตภาพ https://en.wikipedia.org/wiki/File:Puppy-sam.jpg
No comments:
Post a Comment