Thursday, October 10, 2013

นักวิทย์ ฯ เผย เหตุที่ทำให้สัตว์ชอบการเป็นสัตว์เลี้ยง




         ดูเหมือนว่าในอดีตคนกับสัตว์ไม่ค่อยใกล้ชิดสนิทสนมกันมากเท่าไหร่ ต่างฝ่ายต่างแยกกันอยู่เสียมากกว่า จนกระทั่งสภาพแวดล้อมกับความเป็นอยู่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา  ส่งผลให้สัตว์บางชนิดกลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงของคนไปโดยปริยาย อย่างเช่น สุนัข แมว นก หรืออื่น ๆ ทั้งนี้หลายคนก็เลยเกิดคำถามขึ้นมาว่า จริง ๆ แล้วสัตว์เหล่านั้นมีความสุขกับการเป็นสัตว์เลี้ยงของคนหรือเปล่า

          ทั้งนี้ www.buzzfeed.com ได้เผยว่า ข้อสงสัยดังกล่าว ถูกนำไปสู่การค้นหาความจริงของทีมนักวิจัยจากแคลเทคหรือสถาบันเทคโนโลยีแห่ง แคลิฟอร์เนีย นำโดย นายเดวิด แอนเดอสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านชีววิทยา จากการทดลองกับหนู ทำให้พวกเขาพบว่า หนูจะมีปฏิกิริยาตอบสนองทางบวกทุกครั้ง หลังจากที่หนูได้รับสัมผัสที่อ่อนโยนและแผ่วเบา ซึ่งเกิดจากการทำงานร่วมกันของเส้นประสาทกับตัวรับสัญญาณที่มีชื่อว่า MRGPRB4 ซึ่งซ่อนตัวอยู่ใต้ผิวหนังบริเวณที่มีขนเป็นส่วนใหญ่

         หลักการทำงานของ MRGPRB4 ในหนูคล้ายกับ C-tactile ในมนุษย์ กล่าวคือ หากเส้นประสาทที่เชื่อมต่อกับตัวรับสัญญาณดังกล่าวถูกกระตุ้นก็จะทำให้ร่าง กายรู้สึกผ่อนคลาย และมีความสุข เช่นเดียวกับหนูที่พวกเขานำมาทดลอง โดยทีมนักวิจัย พบว่า หลังจากที่หนูทดลองได้รับสารกระตุ้นเข้าสู่ร่างกายแล้ว หนูทดลองก็จะแวะเวียนกลับมาที่ห้องเดิมบ่อย ๆ  เพราะต้องการความรู้สึกแบบเดียวกันนี้อีก

          ซึ่งต่อมรับสัญญาณ MRGPRB4 ไม่ได้มีแค่ในสัตว์ประเภทหนูเท่านั้น แต่ยังสามารถพบได้ในสัตว์ทุกชนิดและทุกประเภท ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่า สุนัข แมว หรือสัตว์อื่น ๆ อาทิ นก กระต่าย แม้กระทั่งสัตว์ใหญ่อย่าง หมี จึงดูผ่อนคลาย มีความสุข โดยเฉพาะเวลาที่มีคนเกาคาง หรือลูบขนให้ อีกทั้งพวกมันยังยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะกลายเป็นสัตว์เลี้ยงสุดน่ารักของ ใครหลาย ๆ คนด้วย

          ถึงแม้ว่า ที่มาของ MRGPRB4 จะยังไม่แน่ชัด แต่อย่างน้อยก็ทำให้พวกเรารู้ว่า การลูบไล้ขนของสัตว์อย่างอ่อนโยน เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการผูกสัมพันธ์กับสัตว์ทั่วไป ในขณะเดียวกันก็ยังช่วยตอบคำถามด้วยว่า เพราะเหตุใดบริเวณที่มีเส้นขนบนร่างกายมนุษย์ จึงไวต่อการสัมผัสมากกว่าจุดอื่น ๆ นอกจากนี้ผลการวิจัยของทีมแอนเดอสันยังสามารถนำไปสู่การพัฒนาตัวยาที่ใช้ สำหรับบรรเทาอาการเจ็บปวด รวมไปถึงการใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตด้วย

No comments:

Post a Comment