Monday, May 20, 2013

เล่นกับน้องหมา....อย่างไร?




การเล่นของคุณ จะมีอิทธิพลโดยตรงต่อพฤติกรรมของน้องหมา ขึ้นอยู่กับคุณเล่นกับน้องหมาอย่างไร และเล่นแบบไหน ปัญหาพฤติกรรมที่พบในน้องหมาโตๆ ล้วนเป็นผลมาจากการเล่นในวัยเด็ก ว่า.. การเล่นของคุณกระตุ้นให้น้องหมาชอบ แย่ง ไล่กวด กัด หรือไม่
 
ดังเช่นที่ Sarah Wilson เขียนไว้ใน Good Owners, Great Pets ว่าสิ่งสำคัญของการมีน้องหมาไว้ในความดูแล คือ การฝึกให้น้องหมารู้จักควบคุมตัวเอง สุนัขที่ดี และ ปลอดภัยต่อเด็กๆ ต้องนั่งลงได้แม้ใจอยากกระโดด อดทนอดกลั้นคอยได้แม้อยากจะไปเอามา ปล่อยของได้แม้อยากคาบอยู่ 


กิจกรรมทุกอย่างของน้องหมาถ้าเป็นการสนับสนุนการรู้จักควบคุมตัวเองของสุนัข ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ก่อนจะเล่นอะไรก็ตามกับน้องหมา ต้องแน่ใจว่าการเล่นของคุณจะสนับสนุนพฤติกรรม และทัศนคติที่คุณต้องการให้น้องหมาเป็น การเล่นที่ดีจะส่งเสริมให้น้องหมาควบคุมง่าย และยอมทำตามคำสั่ง

อย่าเอารางวัล (ของเล่น) มากระตุ้นน้องหมามากไป

 
หลีกเลี่ยงการกระทำที่ไม่เหมาะสมที่เป็นการท้าทาย หรือแหย่น้องหมา เช่น อย่าเคลื่อนไหวไปมาและจู่โจมอย่างรวดเร็ว หลีกเลี่ยงการยั่วยุน้องหมาด้วยของเล่นก่อนที่จะปา ดึงและบิดของเล่นอย่างแรงจากปากน้องหมาหลังจากประเดี๋ยวเดียวจากที่เล่นเกม ชักคะเย่อ และการแกว่งไปแกว่งมาของเล่นสุดเอื้อมหรือเอาไว้ข้างหลังเพื่อไม่ให้น้องหมา แย่งไปจากคุณ 


การกระทำที่กล่าวมานี้จะทำให้เพิ่มความเป็นจ่าฝูงมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว การกระทำเหล่านี้อาจจะช่วยกระตุ้นให้น้องหมาที่ขี้อายเล่น แต่ควรหลีกเลี่ยงในการกระตุ้นอย่างสูง ทำให้กลายเป็นน้องหมาที่กล้าเกินไป. น้องหมาที่เคยเล่นแย่งของแบบที่กล่าวมากับผู้ใหญ่ เมื่อมีเด็กๆ สัก 5 ขวบเดินถือของแกว่งไปแกว่งมาน้องหมาจะเข้าใจว่าต้องไปแย่งมา การเล่นแบบนี้จะเป็นอันตรายมาก ถ้าสุนัขโตไปไล่จักรยานของผู้คนที่ผ่านไปมา หรือไปไล่กัดเด็กที่กำลังวิ่งเล่น

 
น้องหมาจะมีของเล่น 2 ชนิด

 
1. ของเล่นที่ทำให้สงบ หรือของเล่นประเภทขบเคี้ยว มีไว้เพื่อทดแทนรองเท้าและเฟอร์นิเจอร์
2. ของเล่นที่ใช้เล่นตอบโต้กัน เช่น บอล ของเล่นที่มีเสียง ของเล่นที่ใช้ดึงหรือลาก กลุ่มนี้น้องหมาเอาไว้เล่นสนุกกับคุณ
คุณไม่ใช่ของเล่น

 
ห้ามใช้ร่างกายหรือเสื้อผ้าคุณเป็นอุปกรณ์การเล่น เพราะการทำเช่นนั้นเป็นการบอกให้น้องหมาทราบว่าคุณเป็นลูกหมาเล็กๆ ที่อ่อนแอกว่าเค้า คุณไม่ใช่สุนัขเพราะฉะนั้นไม่ควรคุกเข่าลงคลานแล้วทำท่าเห่าหรือขู่เลียนแบบ น้องหมา อีกทั้งไม่ควรเล่นต่อสู้เพื่อกระตุ้นให้เค้ากัดด้วย

 
ใช้เสียงคุณอย่างมีประสิทธิผล
ระดับเสียงสูง การร้องเสียงแหลม ทำเสียงคุณให้คล้ายของเล่นซึ่งร้องเสียงแหลม ซึ่งเหมือนเสียงสัตว์บาดเจ็บ ซึ่งเสียงเหล่านี้จะนำลักษณะผู้ล่าออกมาจากตัวสุนัข การส่งเสียงร้องเบาๆ เสียงคล้ายๆ ลูกสุนัขตัวอื่นๆ น้องหมาจะเข้าใจว่าคุณ คือ เพื่อนเล่น ไม่ใช่จ่าฝูง เสียงเด็กๆ และผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีเสียงสูง เช่น ว๊ายยย ไม่ต๊ายๆอย่านะ ถ้าออกคำสั่งหรือดุน้องหมาด้วยน้ำเสียงแบบนี้ ไม่ได้ผล คุณต้องใช้เสียงที่ต่ำๆ สงบ และคำสั่งชัดเจน เช่น ไม่ ซ้าย ขวา นั่ง คอย จึงจะเป็นการใช้เสียงที่มีผลต่อการสั่งน้องหมา

 
ใช้ท่าทางให้มีประสิทธิภาพเหมือนเสียง
ในการสั่งน้องหมาให้ยืนอยู่ข้างหน้าน้องหมาแล้วออกคำสั่ง ถ้าน้องหมาแย่งขโมย ของเล่น หรืออาหาร ให้ใช้เสียงหรือท่าทางแสดงให้น้องหมารู้ว่าทำไม่ได้ อย่าร้องกรี๊ด….หรือส่งเสียงสูงเด็ดขาด ห้ามแย่งของจากปากน้องหมาแล้วยกขึ้นไปไว้เหนือศีรษะ เพราะจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดนิสัยไล่กวด ให้ดึงของที่น้องหมาขโมยไปออกมาตรงๆ แล้วนำมาไว้ใกล้ๆ ตัวคุณ สบตาน้องหมาแล้วสั่งด้วยเสียงต่ำๆ ว่า ไม่



คุณเป็นผู้คุมกฎ
เก็บของเล่นที่ใช้เล่นตอบโต้กัน เช่น บอล ของเล่นที่มีเสียง ของเล่นที่ใช้ดึงไว้ให้มิดชิด ไม่ทิ้งไว้ตามพื้น คุณจะเป็นผู้เลือกของเล่น คุณเป็นคนตัดสินใจว่าจะเล่นอะไร มีกฎอย่างไร และหยุดเล่นเมื่อใด น้องหมาไม่มีสิทธิออกนอกทิศทางไปกับของเล่นเมื่อเกมจบ ของเล่นเป็นของคุณ และคุณอนุญาตให้น้องหมาเล่นเมื่อคุณสั่ง

 
การเล่นเป็นวิธีการที่สนุกสนานที่จะใช้ฝึกให้น้องหมาให้เป็นจ่าฝูง หรือฝึกเพื่อให้คุณควบคุมน้องหมาได้ ในที่นี้ได้รวบรวมการเล่นที่ดีที่มีผลดีต่อพฤติกรรมในอนาคตน้องหมา กับการเล่นที่ไม่ควรเล่นจะส่งผลให้น้องหมาไม่สามารถควบคุมได้มา ไว้ดังนี้

 
การเล่นที่แย่ : เล่นไล่จับ เล่นแย่งของ การเล่นโดยคุณกระทืบเท้า แล้วให้น้องหมาวิ่งหนี หรือแย่กว่านั้น คือ น้องหมากำลังคาบของอยู่แล้วคุณพยายามไล่จับเพื่อแย่งของ (การเล่นแบบนี้เป็นการกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่หวงของ และเป็นการฝึกให้รู้จักวางแผนหลบหลีก เจ้าเล่ห์ ทำให้เราคุม (จับ) น้องหมาไม่ได้ ถ้าน้องหมาเคยเล่นแบบนี้)


การเล่นที่ดี : เล่นซ่อนหา
การเล่นแบบนี้ให้คุณไปแอบแล้วให้น้องหมาหาคุณให้เจอ (การเล่นแบบนี้เป็นการฝึกสอนน้องหมาให้มาหาเมื่อคุณเรียก และวิธีการที่น้องหมาจะหาคุณพบได้อย่างไร ถ้าไม่เห็นคุณ) หรืออาจจะเล่นโดยเอาของเล่นหรือขนมไปซ่อน แล้วกระตุ้นให้น้องหมาไปหา การเล่นแบบนี้เป็นเกมที่ดีมากในการฝึกดมกลิ่น


 
การเล่นที่แย่ : เกมชักคะเย่อ เพื่อเก็บ การที่น้องหมาต่อสู้แย่งของเล่นจากคุณ โดยในบางครั้งน้องหมามีการขู่คำราม แล้วชนะวิ่งคาบของเล่นหนีไปจากคุณ (การเล่นแบบนี้เป็นการผิดพลาดที่สร้างอำนาจ และสร้างความกล้าให้น้องหมา เลยเถิดไปถึงก่อให้เกิดพฤติกรรมที่หวงของ)


การเล่นที่ดี : เกมชักคะเย่อ ตามคำสั่ง
คุณนำของเล่นมาชักชวนให้น้องหมาเล่น คุณเป็นคนกำหนดกฎกติกาใช้คำสั่ง 3 คำสั่ง เอาไป” “ดึง” “ปล่อยการเล่นจะเริ่มต้นและจบเมื่อคุณสั่ง และเมื่อจบการเล่นคุณเป็นผู้เก็บของเล่น จนกว่าจะเริ่มเกมต่อไป (การเล่นแบบนี้เป็นการฝึกฝนความเป็นผู้นำ ในระดับพอประมาณไม่มากเกินไป ในกรณีที่มีการกระตุ้นมากเกินไป จนเกมจบอย่างกะทันหัน สอนการควบคุมตนเอง)

 
การเล่นที่แย่ : ขว้างลูกบอล น้องหมาผลักลูกบอลมาที่คุณ จ้องมองอย่างมุ่งมั่น ให้คุณขว้างลูกบอล แล้วน้องหมาก็รีบแย่งบอล เมื่อคุณมาถึงบอล เมื่อน้องหมาอนุญาตให้คุณขว้างบอล น้องหมาก็จะมากระโดดโลดเต้นยั่วแหย่คุณแทนที่จะไปเก็บมาให้คุณ (การเล่นแบบนี้เป็นการสอนให้น้องหมารู้ว่าน้องหมาสามารถสั่งคุณได้)


การเล่นที่ดี : เกมไปเก็บมา คุณนำบอลมาแล้วชักชวนให้น้องหมาเล่น โดยเริ่มจากบทเรียนให้น้องหมาทำตามลำดับ คือ นั่ง” “คอย” “ไปเก็บมา” “ปล่อยคุณเป็นผู้เก็บบอลไว้ จนกว่าจะเริ่มเกมต่อไป (การเล่นแบบนี้สอนให้น้องหมารู้จักกติกาว่าเมื่อไรจะต้องทำอะไร และเกมจบเมื่อใด ควรหยุดเล่นเมื่อน้องหมาไม่ต้องการเล่น เพื่อให้เค้าอยากเล่นต่อในครั้งต่อไป)

 
การเล่นที่แย่ :การเล่นต่อสู้ อุ๊บ..การกระตุ้นน้องหมาให้กระโดดเกาะคุณ ขบ งับ กัด วิ่งไล่ และแสดงกำลังกับคุณ เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้สุนัขรู้ว่า สุนัขมีอำนาจเหนือคุณ


การเล่นที่ดี : อุบายต่างๆ” การเล่นแบบนี้เป็นการฝึกจิตใจ(สมาธิ) น้องหมา ด้วยการสอนให้นั่งหวัดดี กลิ้ง ขอมือ เลี้ยงของไว้บนจมูกไม่ให้หล่น

 
การเล่นที่ดีเยี่ยม : เกมฝึกใจ
เป็นเกมที่ใช้ในการฝึกสมองน้องหมา โดยการสอนน้องหมาให้รู้จักชื่อสมาชิกในครอบครัว และของเล่นของเค้า เช่น บอลต่อมาก็สอนให้รู้จักไปหาสิ่งของที่คุณต้องการฝึก เช่น กุญแจรถยนต์


 
ที่มา: takeshi, http://sangwankennels.wordpress.com

เครดิตภาพ  https://www.pinterest.com/pin/131237776618650966/

No comments:

Post a Comment