Thursday, April 18, 2013

สัญลักษณ์แห่งสุขภาพที่ดีของสุนัขพันธุ์บางแก้ว



การเลี้ยงสุนัขดีเป็นมิตรที่ดีกับครอบครัว ต่างจากสุนัขที่เอาไว้โชว์ ซึ่งจะยุ่งยากขึ้นเล็กน้อย บ่อยครั้งที่ลูกสุนัขเตะตาคุณอย่างจัง ถ้าเป็นอย่างนั้นก็ต้องเรียกว่าเป็นรักแรกที่อาจเกิดขึ้นทั้งสองฝ่าย ที่กล่าวว่ามันเป็นสุนัขที่เกิดมาสำหรับคุณ ถ้าเราเชื่อสายตาและมือของเรา ก็จะบอกได้ว่าสุนัขตัวนี้รู้สึกอย่างที่เรารู้สึกหรือไม่ เมื่อคุณเลือกซื้อลูกสุนัขมาเลี้ยง จงอย่างรีบร้อนในการเลือกหา ยิ่งได้ศึกษาเกี่ยวกับลูกสุนัขนานแค่ไหน คุณก็ยิ่งเข้าใจลูกสุนัขมากแค่นั้น 

หลักพิจารณาในการเลือกซื้อสุนัข คือ

1. มีสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรง มีอายุสมขนาดของตัวที่ควรจะเป็น ไม่ใช่ตัวเล็กหรือใหญ่เกินไป ดูสมส่วน ร่าเริง ชอบเล่น ไม่อยู่นิ่ง ไม่หงอยเหงาเศร้าซึม ไม่แสดงกิริยาก้าวร้าวหรือตื่นตกใจเกินเหตุ ท่าทางการเดินหรือวิ่งเป็นปกติ ขาแข็งแรง เมื่อยกลูกสุนัขขึ้น โดยใช้สองมือประคองที่ขาหนีบหน้าของสุนัขเป็นปกติดีหรือไม่ ไม่มีอาการใด ๆ ที่แสดงว่าเจ็บป่วย 

2. เปิดดูภายในช่องหู ควรจะแห้ง สะอาด ไม่มีกลิ่นเหม็น ปราศจากก้อนแข็ง ๆ รอยแผลและ สิ่งสกปรก จมูกเย็นชื้น (ถ้าแห้งแสดงว่าไม่สบาย) สะอาด ไม่มีน้ำมูก 


3. เปิดปากสำรวจลิ้น ฟัน และเหงือก โดยลิ้นและเหงือกควรมีสีชมพู และเขี้ยวควรอยู่ตำแหน่งที่ เหมาะสม 

4. ดวงตาต้องสดใสเป็นประกาย สว่าง ไม่ขุ่นมัว สะอาด และปราศจากขี้ตาและน้ำตา สุนัขควร ลืมตาได้เป็นปกติ ไม่มีอาการกระพริบตาบ่อย ๆ ควรหลีกเลี่ยงสุนัขที่ใช้อุ้งเท้าแคะตาบ่อย ๆ 

5. ขนเป็นมันเงา นุ่ม ใช้ฝ่ามือลูกขนสุนัขให้ทั่ว เพื่อสำรวจผิวหนัง รอยแผลเป็น ฝุ่นดำ ๆ ซึ่งเป็น ไข่ของเห็บหรือหมัด ให้ดูด้วยว่าขณะลูกสุนัขแสดงอากาศเจ็บปวดหรือไม่ 

6. ดูใต้หางของสุนัขว่าทวารหนักปราศจากรอยเปื้อนของอุจจาระ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสุนัขกำลัง ท้องเสีย 

7. สุนัขไม่ไอหรือแสดงอาการอื่น ๆ ที่ผิดปกติ เช่น ท้องไม่โต หรือป่องเกินไป เพราะอาจมีพยาธิ 

8. ส่วนเรื่องของสี ในการดูลูกสุนัขนั้นไม่ใช่ว่าจะเข้มหรืออ่อนเพียงอย่างเดียว ควรดูตำแหน่งของ สีหรือจุดแต้มสีด้วยว่าออกโทนเดียวหรือเปล่า สีเป็นส่วนหนึ่งที่คุณไม่ควรมองข้าม สุนัขบางตัวรูปร่าง ทุกอย่างสวยหมด แต่ตำแหน่งของสีผิดเพี้ยนไปก็จะกลายเป็นข้อบกพร่องไป


แหล่งที่มา  งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
                     สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
                     มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม พิษณุโลก

No comments:

Post a Comment