Saturday, May 17, 2014

เรื่องจริงที่หลายคนยังไม่รู้เกี่ยวกับสุนัข T Cup


ความเป็นมาของ T Cup

     จริงๆ แล้ว "T Cup" เป็นคำอธิบายเกี่ยวกับขนาดของลูกสุนัขขนาดเล็กที่ถูกนำมาใช้เป็นคำโฆษณาชวนเชื่ออย่างผิดความหมาย 

     คำว่า T Cup ก็คือสิ่งที่เรียกแทนขนาดของสุนัข ที่ตัวเล็กเท่านั้นเองค่ะ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับ กลุ่มสแตน ดาร์ด, มินิเอเจอร์ หรือทอย แต่อย่างใด เพราะ T Cup ไม่ได้รับการรับรองจากสมาคมหรือสถาบันใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ 

     โดยสาเหตุที่ไม่ได้รับการรับรองก็เพราะ สุนัข TCup เป็น สุนัขที่ผิดปกติ หรือลักษณะข้อด้อยทางพันธุกรรม ไม่ใช่สายพันธุ์ที่ถูกต้องที่ควรเลี้ยงไว้ สมัยก่อนในบางประเทศต้องทำลายทิ้งด้วยซ้ำ เพราะกลัวว่าจะถ่ายทอดพันธุกรรมด้อยไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน 

     และอย่างที่บอกไปข้างต้นแล้วว่า TCup เป็นสุนัขที่มีขนาดผิดปกติ ขนาดของลำตัวไม่ได้มาตรฐาน จึงทำให้ T Cup ไม่ได้ถูกรับรอง เพราะถือว่าผิดลักษณะทางสายพันธุ์ ดังนั้นคำว่า T Cup ไม่ใช่สายพันธุ์หรือกลุ่มใดๆ ที่ถูกต้อง ในโลกนี้มีแต่ สแตนดาร์ด, มินิเอเจอร์ และทอยเท่านั้นค่ะ!!
      และจากที่เราเห็นตามโฆษณาขายสุนัขจะเห็นว่า เขาจะใช้สุนัขเด็กอายุประมาณเดือนกว่าๆ จับใส่ถ้วยและถ่ายรูปเพื่อแสดงให้เห็นว่า ตัวเล็กจนสามารถอยู่ในถ้วยกาแฟได้ แต่ว่าในความเป็นจริงแล้วไม่มีสุนัขตัวไหนจะอยู่ในถ้วยกาแฟได้ตลอดไปหรอก ค่ะ

     นั่นเป็นแค่เทคนิคอย่างหนึ่งที่ใช้เพิ่มความน่ารักและเพิ่มมูลค่าของสุนัข ผู้ซื้อบางรายอาจไม่รู้และคล้อยตามไปว่า เจ้าสุนัขตัวนี้คงจะตัวเล็กเท่านี้ตลอดไป คุณคิดผิดค่ะ!! และ ที่ว่า ชิวาวา ทีคัพ , ยอร์คเซีย ทีคัพ  ก็ไม่มีอยู่จริงค่ะ อาจจะจริงที่ตอนแรกๆ ใส่ถ้วยได้ แต่หลังจากนั้นหล่ะ  ใส่กะละมังแทนแล้วกันค่ะ (แซวๆ) ^0^
สุนัขในกลุ่มทอย

     มารู้จักสุนัขในกลุ่มทอย (Toy Dog) กันก่อนดีกว่าค่ะ จะมีขนาดน้ำหนักตัวโตเต็มวัยมาตรฐานอยู่ที่ 4  ถึง 7 ปอนด์ หรือ (1.8 3.1 kg.) ได้แก่ ชิวาวา (Chihuahua) ปอมเมอเรเนียน (Pomerania) ยอร์คเชียร์ (Yorkshire Terrier) ชิสุห์ (Shih Tzu) , พุดเดิ้ล (Poodleมี ไซค์ Toy, Miniature และ Standard เป็นต้น 

     สุนัขในกลุ่มทอย (Toy Dog) จะรวมสุนัขที่เป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กจนถึงเล็กที่สุดในสมาคมสุนัขแห่ง ประเทศอเมริกา (the American Kennel Club's registry) อยู่แล้ว แต่ก็ยังมีบรีดเดอร์หรือผู้เพาะพันธุ์สุนัขบางคนอ้างว่าสุนัขของตนมีขนาดที่ เล็กกว่าสุนัขในกลุ่มทอย และ เรียกสุนัขจิ๋วว่า (T Cup) นั่นเองค่ะ
สุนัขไซค์ T Cup

     จะมีน้ำหนักตัวโตเต็มวัยประมาณ 2 ถึง 4 ปอนด์ หรือ (0.9 1.8 kg.) มีขนาดเล็กเกินมาตรฐานพบใน ชิวาวา(Chihuahua) , ปอมเมอเรเนียน (Pomerania) ยอร์คเชียร์ (Yorkshire Terrier) ชิสุห์ (Shih Tzu) , พุดเดิ้ล(Poodleเกิดจากสาเหตุยีนส์ในร่างกายผิดปกติ บกพร่อง ผิดมาตรฐาน และไม่สามารถเข้าประกวดใดๆ ได้ จากที่กล่าวข้างต้น T Cup คือไซค์ที่เล็กกว่า Toy แบบผิดปกตินั่นเองค่ะ

การดูแลสุนัขไซค์ T Cup

     ปกติแล้วก่อนที่เราอยากจะเลี้ยงสุนัขสักตัว เราต้องศึกษาข้อมูลนั้นๆ ก่อน ยิ่งเป็นสุนัขไซส์พิเศษด้วยแล้ว ต้องทำการบ้านเป็นสองเท่า และการดูแลเป็นสองเท่าด้วยค่ะ เค้าจะ เหมือนกับทารกเล็กๆ ไปไหนมาไหนเองไม่ได้ พ่อแม่ต้องคอยประคบประหงม ที่สำคัญไม่สามารถทิ้งเค้าให้อยู่ตัวเดียวเป็นเวลานานๆ จะเป็นอันตรายได้ค่ะ เพราะว่าลูกสุนัขไซส์เล็ก กระดูกจะอ่อนและบอบบางไปหมด บางคนที่เลี้ยงสุนัขไซส์นี้ ถ้าไม่ระวัง เดินๆ อยู่ อาจจะเตะสุนัขโดยไม่ได้ตั้งใจ รู้ตัวอีกทีก็กระเด็นไปแล้ว 

     หรือไม่อย่างนั้นสุนัจอาจจะตกจากโต๊ะ เก้าอี้ บันได ขาหัก หรือสมองได้รับการกระทบกระเทือนได้ แถมสุนัขไซต์ T Cup ยังมีการตอบสนองไวต่อเชื้อโรคด้วย ยิ่งถ้าอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ จะยุ่งยากมากหากเป็นไข้ขึ้นมา ทางทีดีควรพาเค้าออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยให้เค้าแข็งแรงมากขึ้นค่ะ

พันธุกรรมของการเกิดสุนัขไซค์ T Cup

     การผสมพันธุ์สุนัข ต้องมองให้ลึกถึงบรรพบุรุษ ปู่ ย่า ตา ยาย ไม่ใช่จะมองแต่พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ว่าไซส์ T Cupอย่างเดียว เพราะบางครั้งอาจมียีนส์ไซส์ปกติแฝงอยู่ในตัวพ่อพันธุ์ก็เป็นได้ เมื่อการผสมพันธุ์ คงไม่ 100% ชัวร์ที่จะได้ T Cup ทั้งหมดเหมือน กันทั้งคอก ในเรื่องของพันธุกรรมเป็นเรื่องที่คาดคะเนได้ยาก  และในการทำคลอดนั้น ต้องผ่าตัดอย่างเดียวคลอดเองไม่ได้ อาจเสียชีวิตทั้งหมดค่ะ

การสังเกต

     บางร้านจะเอาสุนัขยังไม่ถึง เดือนมาวางจำหน่าย และอ้างว่าเป็นไซค์ T Cup ซึ่ง ตรงนี้เราสามารถสังเกตจากฟันหน้า หรือฟันกรามว่าขึ้นหรือยังค่ะ และถ้าเรานำไปเลี้ยง เค้าจะไม่ค่อยแข็งแรง เนื่องจาก ถูกให้หย่านมเร็วกว่ากำหนดที่ควรจะเป็น จึงมีภูมิต้านทานโรคไม่เพียงพอค่ะ 

การให้อาหาร

     ผู้ค้าบางรายมีการบีบอาหารให้กินน้อยๆ นับเม็ดกินกันเลยทีเดียว ตัวจะได้เล็กๆ เมื่อเรารับเค้ามาแล้วปล่อยให้เค้ากินเถอะค่ะ ร่างกายจะได้ไม่แคระแกร็น กระดูกและฟันจะได้ไม่เปราะไปด้วยค่ะ

ปัญหาสุขภาพของสุนัขไซค์ T Cup 

     สุนัขไซส์นี้จะมีปัญหาเรื่องสุขภาพหลายด้านเลยค่ะ เช่น สุขภาพร่างกายกระดูก , สุขภาพฟัน, หัวใจล้มเหลว, ขาดน้ำตาลในเส้นเลือด ฯลฯ 

ข้อดี     : ตัวเล็ก น่ารัก กระทัดรัด พกพาไปไหนสะดวก ไม่ต้องการพื้นที่มาก กินน้อยไม่เปลืองอาหาร

ข้อเสีย : ราคาแพงมากๆ เจ็บป่วย เป็นโรคง่าย เกิดอุบัติเหตุง่าย ไม่ค่อยแข็งแรง อายุสั้น เลี้ยงยาก ร่าเริงน้อย ต้องการเวลาสูง ที่สำคัญไม่เหมาะกับเด็ก
  
     ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคลค่ะ จะชอบไซส์ไหน เล็กใหญ่ ก็ขอให้ดูแลเอาใจใส่เค้าให้ดีๆ ก็พอค่ะ เค้าจะได้อยู่กับเราไปนานๆ ไม่จำเป็นต้องแค่ร์ว่า T Cup หรือไม่ก็ตาม ... "สุนัขก็คือสุนัข เป็นสิ่งมีชีวิตที่ซื่อสัตย์ และมีหัวใจ ลองมองในตาเขาดูสิ แล้วคุณจะรู้" ...

    แต่สำหรับคนที่อยากเลี้ยงสุ นัขไซส์ T CUP จริงๆ ก็สามารถมั่นใจได้ค่ะกับคอกที่ได้รับมาตรฐาน สถาบันผู้กำหนดมาตรฐานสายพันธุ์ต่างๆ ออกมายอมรับว่ามีผู้เพาะพันธุ์จำนวนมากพยายามจะเพาะพันธุ์ไซค์ T Cup อย่างแพร่หลาย แต่จะไม่มีการต่อต้านหรือถูกลงโทษ หากสุนัขที่กำเนิดออกมามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์  
  
     ทั้งนี้ บรรดาคอกสุนัขที่ได้มาตรฐานก็ไม่ได้สนับสนุนการนำลูกสุนัขที่มีความผิดปกติ ออกมาจำหน่าย ถือว่าเป็นจรรยาบรรณที่ดีต่อผู้ขาย ที่มีให้ผู้ซื้อค่ะ ฉะนั้นมั่นใจได้เลย 

     และตอนนี้เราก็เข้าใจอย่าละเอียดถี่ถ้วนแล้วค่ะ เป็นสุนัขน่ารัก ที่เลี้ยงยากจริงๆ คิดไปคิดมาแล้ว อาจจะไม่เหมาะกับเราก็ได้ค่ะ เพราะคงมีเวลาไม่พอที่จะดูแลเป็นพิเศษ แล้วเพื่อนๆ หล่ะคะ พร้อมที่จะเลี้ยงเค้ากันหรือเปล่า ^0^

แหล่งที่มา  http://board.postjung.com/614499.html

No comments:

Post a Comment