เมื่อนำลูกสุนัขตัวใหม่มาเลี้ยง
เราอาจพบการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น จนเจ้าของลูกสุนัขหลายคนเกิดคำถามว่ามีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างและจะรับมือ
กับเรื่องนี้ได้อย่างไร ติดตามจากเรื่องที่เรานำมาฝากในครั้งนี้ได้เลยค่ะ
พัฒนาการด้านการกินอาหาร
เมื่อแรกคลอด ลูกสุนัขมีความจำเป็นต้องได้รับนมน้ำเหลืองจากแม่ เพราะในนมน้ำเหลืองมีการถ่ายทอดภูมิคุ้มกันแบบรับมา (Passive Immunity) ผ่านจากแม่มายังลูก ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลา 72 ชั่วโมงแรกหลังคลอดเท่านั้น โดยลูกสุนัขควรกินนมทุก 2-3 ชั่วโมงในระยะแรก เรื่อยไปจนถึงอายุ 1 เดือนครึ่ง ในขณะเดียวกันก็ต้องระมัดระวังเรื่องการถ่ายเหลว ท้องเสีย ท้องอืด ที่อาจเกิดจากการทำความสะอาดบริเวณเต้านมของแม่สุนัขยังไม่ดีพอ หรือที่นอนไม่สะอาด ซึ่งเป็นเรื่องที่เจ้าของสุนัขควรระวังอย่างมาก รวมถึงระมัดระวังการให้นมสำเร็จรูป โดยไม่ควรให้นมผงสำหรับเด็กทารก นม UHT หรือนมกล่อง Sterilize แก่ลูกสุนัข
นอกจากนั้นควรให้ความอบอุ่นแก่ลูกสุนัข โดยอุณหภูมิบริเวณที่นอนไม่ควรร้อนหรือเย็นจนเกินไป โดยปกติจะแนะนำให้เจ้าของใช้ไฟกกลูกสุนัขแทบจะตลอด 24 ชั่วโมงในช่วง 2 อาทิตย์แรก
สองประการข้างต้นนี้ ส่งผลต่ออัตราการอยู่รอดของลูกสุนัขในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกหลังคลอด และเมื่อลูกสุนัขมีอายุเกิน 45 วันขึ้นไป แนะนำให้เจ้าของแยกลูกสุนัขออกจากแม่ เพื่อเริ่มหย่านมและให้อาหารเม็ดสูตรสำหรับลูกสุนัขเข้ามาทดแทน โดยอาจช่วยกระตุ้นความน่ากินของอาหารด้วยการใช้น้ำร้อนแช่อาหารเม็ดให้อุ่น และเริ่มนิ่มลง จะช่วยกระตุ้นความอยากอาหารให้ลูกสุนัขได้ สำหรับลูกสุนัขในกลุ่มพันธุ์เล็กให้ใช้สูตรนี้ไปเรื่อยๆ จนอายุได้ 1 ปีขึ้นไป จึงทำการเปลี่ยนเป็นสูตรสำหรับสุนัขโต ส่วนในกลุ่มสุนัขพันธุ์ใหญ่รอให้ลูกสุนัขมีอายุ 18 เดือน จึงค่อยเปลี่ยน
ลูกสุนัขมีความจำเป็นอย่างมากในการใช้สารอาหารที่ได้รับมาในการเจริญเติบโต เสริมสร้างกล้ามเนื้อและกระดูกให้แข็งแรง คุณภาพของอาหารจึงส่งผลต่ออัตราการเจริญเติบโตที่ดีของลูกสุนัขด้วย ในขณะที่สุนัขโตแล้วนั้นต้องการสารอาหารเพื่อใช้เพียงการดำรงชีพ และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในร่างกายเท่านั้น
พัฒนาการด้านการสืบพันธุ์
วิธีสังเกตคือ ในลูกสุนัขเพศผู้ต้องเริ่มเห็นลูกอัณฑะครบทั้งสองใบอยู่ในถุงอัณฑะเมื่ออายุ อย่างช้าสุดคือ 4 เดือน หากพ้นจากนี้ไปแล้วยังคงมีลูกอัณฑะค้างอยู่ระหว่างขาหนีบ หรือมองไม่เห็นเลย แปลว่าลูกอัณฑะอยู่ในช่องท้อง เมื่อโตขึ้นต้องรีบทำการแก้ไขหรือผ่าตัดทำหมันเอาลูกอัณฑะออกไป ไม่เช่นนั้นอาจพัฒนาต่อเนื่องกลายเป็นเนื้องอกของลูกอัณฑะในช่องท้องหรือที่ ขาหนีบได้ โดยลักษณะที่เกิดขึ้นนี้เรียกกันทั่วไปว่า ภาวะของไส้เลื่อน หรือที่ภาชาวบ้านเรียกกันว่า ทองแดง ซึ่งเป็นลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมมา ไม่ควรให้สุนัขที่เป็นทองแดงเป็นพ่อพันธุ์ เพราะจะถ่ายทอดลักษณะด้อยต่อไปให้รุ่นลูกได้
ส่วนในลูกสุนัขเพศเมีย ก็จะเริ่มเป็นสัดหรือมีประจำเดือนครั้งแรกที่อายุประมาณ 6-7 เดือนขึ้นไป เร็ว-ช้าแล้วแต่ความสมบูรณ์พันธุ์ในลูกสุนัขแต่ละตัว โดยการเป็นสัดแต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 3 อาทิตย์ และหลังจากนั้นก็จะเป็นสัดทุกๆ 6 เดือน ส่วนในรายที่เจ้าของไม่ต้องการให้สุนัขมีลูก ขอแนะนำให้ทำหมันโดยการตัดมดลูกและรังไข่ออก โดยการทำหมันก่อนการเป็นสัดครั้งแรกจะช่วยลดโอกาสของการเกิดมะเร็งที่เต้านม ได้ 100% ในขณะเดียวกันก็ช่วยลดโอกาสของการเกิดมดลูกอักเสบ และภาวะเสี่ยงต่อการเกิดตั้งท้องเทียมด้วย ลักษณะของท้องเทียมคือสุนัขจะมีน้ำนมไหลและมีพฤติกรรมคล้ายสุนัขตัวเมียที่ มีลูก
การทำหมันในสุนัขจะต่างจากของคนตรงที่ไม่ได้ใช้วิธีผูกท่อนำ ไข่ แต่จะตัดมดลูกและรังไข่ออกไปเลย เนื่องจากช่วงชีวิตของสุนัขอยู่ระหว่าง 12-15 ปี ทำให้สุนัขเพศเมียไม่สามารถเกิดภาวะของวัยทองเหมือนคนได้ ส่วนสุนัขเพศผู้การทำหมันจะใช้การผ่าตัดเอาลูกอัณฑะออกทั้งสองข้าง มีประโยชน์คือช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดต่อมลูกหมากโตและการเกิดเนื้องอก ที่ลูกอัณฑะได้
พัฒนาการเรื่องฟัน
สุนัข มีฟัน 2 ชุด เหมือนกับคน เมื่อลูกสุนัขอายุ 4-5 เดือนฟันน้ำนมจะเริ่มหลุดออก และมีฟันแท้ขึ้นมาทดแทน ซึ่งอาจทำให้ลูกสุนัขกินอาหารได้ลดลง ควรระวังเรื่องของฟันน้ำนมที่ไม่ยอมหลุดในลูกสุนัขพันธุ์เล็ก จนไปเบียดกับฟันแท้ทำให้ฟันแท้ไม่สามารถขึ้นมาได้ หรือฟันแท้ขึ้นในตำแหน่งที่ผิดปกติ ซึ่งแก้ไขได้โดยการถอนฟันน้ำนมออก เพื่อให้ฟันแท้ขึ้นมาในแนวปกติได้ โดยเราอาจช่วยทำความสะอาดฟันและช่องปากของสุนัขได้ โดยการแปรงฟันและใช้ยาสีฟันสำหรับสุนัข เพื่อช่วยการลดการเกาะตัวของหินปูนและลดแบคทีเรียในช่องปาก
พัฒนาการเรื่องกล้ามเนื้อและโครงสร้างกระดูก
พัฒนาการ ด้านนี้มีส่วนสัมพันธ์กับอาหารที่ให้โดยตรง เจ้าของสุนัขหลายท่านมักเข้าใจว่าลูกสุนัขพันธุ์ใหญ่ต้องกินอาหารในปริมาณ มากหลายๆ มื้อต่อวัน เพื่อให้ลูกสุนัขมีโครงสร้างใหญ่และแข็งแรง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เพราะถ้าให้อาหารลูกสุนัขพันธุ์ใหญ่ในปริมาณมากเกินไป จะส่งผลต่อโครงสร้างของกระดูกที่ต้องรับน้ำหนักมากเกินไป เมื่อการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อและโครงสร้างกระดูกไม่สัมพันธ์กัน ลูกสุนัขบางตัวจะแสดงอาการเดินขาบิดหรือเดินผิดปกติ และไม่สามารถแก้ไขได้หากโครงสร้างของกระดูกนั้นเสียหายหรือผิดปกติไปแล้ว การให้อาหารในปริมาณที่เหมาะสมจึงมีความจำเป็น โดยในลูกสุนัขควรให้อาหาร 2-3 มื้อต่อวัน จากนั้นเมื่ออายุได้ 7-8 เดือน ค่อยปรับเหลือเพียง 2 มื้อต่อวัน และหากเราให้อาหารสูตรที่เป็น Super Premium หรือ Premium สำหรับลูกสุนัขแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นต้องเสริมในส่วนของวิตามินให้กับลูกสุนัขเลย ไม่ว่าจะเป็นแคลเซี่ยม หรือฟอสฟอรัส กลับกันการให้วิตามินที่มากไปก็สามารถทำให้เกิดผลเสียต่อลูกสุนัขได้ด้วยค่ะ
เมื่อแรกคลอด ลูกสุนัขมีความจำเป็นต้องได้รับนมน้ำเหลืองจากแม่ เพราะในนมน้ำเหลืองมีการถ่ายทอดภูมิคุ้มกันแบบรับมา (Passive Immunity) ผ่านจากแม่มายังลูก ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลา 72 ชั่วโมงแรกหลังคลอดเท่านั้น โดยลูกสุนัขควรกินนมทุก 2-3 ชั่วโมงในระยะแรก เรื่อยไปจนถึงอายุ 1 เดือนครึ่ง ในขณะเดียวกันก็ต้องระมัดระวังเรื่องการถ่ายเหลว ท้องเสีย ท้องอืด ที่อาจเกิดจากการทำความสะอาดบริเวณเต้านมของแม่สุนัขยังไม่ดีพอ หรือที่นอนไม่สะอาด ซึ่งเป็นเรื่องที่เจ้าของสุนัขควรระวังอย่างมาก รวมถึงระมัดระวังการให้นมสำเร็จรูป โดยไม่ควรให้นมผงสำหรับเด็กทารก นม UHT หรือนมกล่อง Sterilize แก่ลูกสุนัข
นอกจากนั้นควรให้ความอบอุ่นแก่ลูกสุนัข โดยอุณหภูมิบริเวณที่นอนไม่ควรร้อนหรือเย็นจนเกินไป โดยปกติจะแนะนำให้เจ้าของใช้ไฟกกลูกสุนัขแทบจะตลอด 24 ชั่วโมงในช่วง 2 อาทิตย์แรก
สองประการข้างต้นนี้ ส่งผลต่ออัตราการอยู่รอดของลูกสุนัขในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกหลังคลอด และเมื่อลูกสุนัขมีอายุเกิน 45 วันขึ้นไป แนะนำให้เจ้าของแยกลูกสุนัขออกจากแม่ เพื่อเริ่มหย่านมและให้อาหารเม็ดสูตรสำหรับลูกสุนัขเข้ามาทดแทน โดยอาจช่วยกระตุ้นความน่ากินของอาหารด้วยการใช้น้ำร้อนแช่อาหารเม็ดให้อุ่น และเริ่มนิ่มลง จะช่วยกระตุ้นความอยากอาหารให้ลูกสุนัขได้ สำหรับลูกสุนัขในกลุ่มพันธุ์เล็กให้ใช้สูตรนี้ไปเรื่อยๆ จนอายุได้ 1 ปีขึ้นไป จึงทำการเปลี่ยนเป็นสูตรสำหรับสุนัขโต ส่วนในกลุ่มสุนัขพันธุ์ใหญ่รอให้ลูกสุนัขมีอายุ 18 เดือน จึงค่อยเปลี่ยน
ลูกสุนัขมีความจำเป็นอย่างมากในการใช้สารอาหารที่ได้รับมาในการเจริญเติบโต เสริมสร้างกล้ามเนื้อและกระดูกให้แข็งแรง คุณภาพของอาหารจึงส่งผลต่ออัตราการเจริญเติบโตที่ดีของลูกสุนัขด้วย ในขณะที่สุนัขโตแล้วนั้นต้องการสารอาหารเพื่อใช้เพียงการดำรงชีพ และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในร่างกายเท่านั้น
พัฒนาการด้านการสืบพันธุ์
วิธีสังเกตคือ ในลูกสุนัขเพศผู้ต้องเริ่มเห็นลูกอัณฑะครบทั้งสองใบอยู่ในถุงอัณฑะเมื่ออายุ อย่างช้าสุดคือ 4 เดือน หากพ้นจากนี้ไปแล้วยังคงมีลูกอัณฑะค้างอยู่ระหว่างขาหนีบ หรือมองไม่เห็นเลย แปลว่าลูกอัณฑะอยู่ในช่องท้อง เมื่อโตขึ้นต้องรีบทำการแก้ไขหรือผ่าตัดทำหมันเอาลูกอัณฑะออกไป ไม่เช่นนั้นอาจพัฒนาต่อเนื่องกลายเป็นเนื้องอกของลูกอัณฑะในช่องท้องหรือที่ ขาหนีบได้ โดยลักษณะที่เกิดขึ้นนี้เรียกกันทั่วไปว่า ภาวะของไส้เลื่อน หรือที่ภาชาวบ้านเรียกกันว่า ทองแดง ซึ่งเป็นลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมมา ไม่ควรให้สุนัขที่เป็นทองแดงเป็นพ่อพันธุ์ เพราะจะถ่ายทอดลักษณะด้อยต่อไปให้รุ่นลูกได้
ส่วนในลูกสุนัขเพศเมีย ก็จะเริ่มเป็นสัดหรือมีประจำเดือนครั้งแรกที่อายุประมาณ 6-7 เดือนขึ้นไป เร็ว-ช้าแล้วแต่ความสมบูรณ์พันธุ์ในลูกสุนัขแต่ละตัว โดยการเป็นสัดแต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 3 อาทิตย์ และหลังจากนั้นก็จะเป็นสัดทุกๆ 6 เดือน ส่วนในรายที่เจ้าของไม่ต้องการให้สุนัขมีลูก ขอแนะนำให้ทำหมันโดยการตัดมดลูกและรังไข่ออก โดยการทำหมันก่อนการเป็นสัดครั้งแรกจะช่วยลดโอกาสของการเกิดมะเร็งที่เต้านม ได้ 100% ในขณะเดียวกันก็ช่วยลดโอกาสของการเกิดมดลูกอักเสบ และภาวะเสี่ยงต่อการเกิดตั้งท้องเทียมด้วย ลักษณะของท้องเทียมคือสุนัขจะมีน้ำนมไหลและมีพฤติกรรมคล้ายสุนัขตัวเมียที่ มีลูก
การทำหมันในสุนัขจะต่างจากของคนตรงที่ไม่ได้ใช้วิธีผูกท่อนำ ไข่ แต่จะตัดมดลูกและรังไข่ออกไปเลย เนื่องจากช่วงชีวิตของสุนัขอยู่ระหว่าง 12-15 ปี ทำให้สุนัขเพศเมียไม่สามารถเกิดภาวะของวัยทองเหมือนคนได้ ส่วนสุนัขเพศผู้การทำหมันจะใช้การผ่าตัดเอาลูกอัณฑะออกทั้งสองข้าง มีประโยชน์คือช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดต่อมลูกหมากโตและการเกิดเนื้องอก ที่ลูกอัณฑะได้
พัฒนาการเรื่องฟัน
สุนัข มีฟัน 2 ชุด เหมือนกับคน เมื่อลูกสุนัขอายุ 4-5 เดือนฟันน้ำนมจะเริ่มหลุดออก และมีฟันแท้ขึ้นมาทดแทน ซึ่งอาจทำให้ลูกสุนัขกินอาหารได้ลดลง ควรระวังเรื่องของฟันน้ำนมที่ไม่ยอมหลุดในลูกสุนัขพันธุ์เล็ก จนไปเบียดกับฟันแท้ทำให้ฟันแท้ไม่สามารถขึ้นมาได้ หรือฟันแท้ขึ้นในตำแหน่งที่ผิดปกติ ซึ่งแก้ไขได้โดยการถอนฟันน้ำนมออก เพื่อให้ฟันแท้ขึ้นมาในแนวปกติได้ โดยเราอาจช่วยทำความสะอาดฟันและช่องปากของสุนัขได้ โดยการแปรงฟันและใช้ยาสีฟันสำหรับสุนัข เพื่อช่วยการลดการเกาะตัวของหินปูนและลดแบคทีเรียในช่องปาก
พัฒนาการเรื่องกล้ามเนื้อและโครงสร้างกระดูก
พัฒนาการ ด้านนี้มีส่วนสัมพันธ์กับอาหารที่ให้โดยตรง เจ้าของสุนัขหลายท่านมักเข้าใจว่าลูกสุนัขพันธุ์ใหญ่ต้องกินอาหารในปริมาณ มากหลายๆ มื้อต่อวัน เพื่อให้ลูกสุนัขมีโครงสร้างใหญ่และแข็งแรง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เพราะถ้าให้อาหารลูกสุนัขพันธุ์ใหญ่ในปริมาณมากเกินไป จะส่งผลต่อโครงสร้างของกระดูกที่ต้องรับน้ำหนักมากเกินไป เมื่อการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อและโครงสร้างกระดูกไม่สัมพันธ์กัน ลูกสุนัขบางตัวจะแสดงอาการเดินขาบิดหรือเดินผิดปกติ และไม่สามารถแก้ไขได้หากโครงสร้างของกระดูกนั้นเสียหายหรือผิดปกติไปแล้ว การให้อาหารในปริมาณที่เหมาะสมจึงมีความจำเป็น โดยในลูกสุนัขควรให้อาหาร 2-3 มื้อต่อวัน จากนั้นเมื่ออายุได้ 7-8 เดือน ค่อยปรับเหลือเพียง 2 มื้อต่อวัน และหากเราให้อาหารสูตรที่เป็น Super Premium หรือ Premium สำหรับลูกสุนัขแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นต้องเสริมในส่วนของวิตามินให้กับลูกสุนัขเลย ไม่ว่าจะเป็นแคลเซี่ยม หรือฟอสฟอรัส กลับกันการให้วิตามินที่มากไปก็สามารถทำให้เกิดผลเสียต่อลูกสุนัขได้ด้วยค่ะ
แหล่งที่มา http://www2.nestle.co.th
No comments:
Post a Comment