ระยะเวลาในการตั้งท้องของสุนัข คือ 63 + / - 1 วันนับจากวันที่ไข่ตก ถ้านับจากวันผสมวันแรกสุนัขจะมีระยะการตั้งท้องอยู่ในช่วง 57 - 72 วัน โดยมี progesterone (ปริมาณอย่างน้อยที่สุด 2 ng/ml) เป็นฮอร์โมนหลักที่ควบคุมการตั้งท้อง ซึ่งผลิตจาก corpus luteum ที่รังไข่เท่านั้น สภาวะที่ทำให้สับสนกับการตั้งท้องได้ คือ การเกิดท้องเทียม (Pseudopregnancy) เต้านมอักเสบ (mastitis) เนื้องอกที่เต้านม การขยายใหญ่ของช่องท้องจากการสะสมของเหลว หรือมีอวัยวะภายในขยายใหญ่หรือเกิดสภาพมดลูกเป็นหนอง (Pyometra)
การสังเกตอาการว่าสุนัขตั้งท้องหรือไม่ มีอาการดังนี้ พฤติกรรมการทำรังคลอดโดยพยายามตะกุยฉีกกระดาษหรือสิ่งรองนอนต่าง ๆ พฤติกรรมของการเป็นแม่พยายามเอาสิ่งของต่าง ๆ เข้ามารวมไว้ใกล้ตัว น้ำหนักเพิ่มขึ้นโดยปกติจะเกิดขึ้นหลังจากตั้งท้องได้ 4 สัปดาห์ การขยายใหญ่หรือบวมขึ้นของช่องท้อง เต้านมขยายใหญ่และมีน้ำนม แต่ถ้าสุนัขมีอาการผิดปกติหรือมีอาการเซื่องซึม หรือสังเกตเห็นมีของเหลวหรือหนองออกจากช่องคลอด ควรนำมาพบสัตวแพทย์ทันทีเพราะอาจจะเป็นสภาวะมดลูกอักเสบเป็นหนอง ซึ่งมักจะพบได้ในช่วงเวลาเดียวกันหลังการเป็นสัด
การตรวจการตั้งท้อง สัตวแพทย์ดูบันทึกการรักษาและตรวจร่างกายทั่วไป ตรวจดูวงรอบการเป็นสัดและความสามารถในการผสมครั้งก่อน หลังจากนั้นคลำช่องท้องต้องใช้ความชำนาญอาจคลำได้เร็วที่สุดประมาณ 17 - 22 วันของการตั้งท้องนับจากวันตกไข่ แต่โดยทั่วไปมักคลำได้ง่ายในช่วง 28 - 30 วันภายหลังการตกไข่
การเอ็กซเรย์ช่องท้องเพื่อตรวจดูโครงสร้างกระดูกของลูก สามารถเห็นได้หลังจาก 45 วันขึ้นไปมีประโยชน์ในการนับจำนวนตัวลูกและประเมินสภาวะการคลอดยากโดยเทียบ ขนาดหัวกับขนาดช่องเชิงกราน
การทำอัลตราซาวด์อาจใช้การตรวจท้องได้เร็วที่สุดประมาณ 20 วัน ถ้าต้องการความแม่นยำก็ประมาณ 28 วันขึ้นไป เป็นวิธีการตรวจการมีชีวิตของลูกได้เพราะเห็นการเต้นของหัวใจ
ปัจจุบันมีชุดตรวจสอบการตั้งท้องสำเร็จรูปโดยตรวจระดับฮอร์โมน relaxin จากซีรัม สามารถตรวจสอบเมื่อตัวอ่อนฝังตัวในผนังมดลูก สามารถตรวจสอบการตั้งท้องที่เร็วที่สุดได้ตั้งแต่ 20 วันขึ้นไป มีความแม่นยำ 55% แต่ถ้าตรวจท้องที่ 27 - 28 วันความแม่นยำอยู่ที่ 95% มีประโยชน์ในกรณีไม่มีเครื่องอัลตร้าซาวด์หรือคลำยากในกรณีสุนัขมีลูกจำนวน น้อยหรืออ้วนมาก
การดูแลและจัดการสุนัขตั้งท้อง
สุนัขควรได้รับการฉีดวัคซีนและถ่ายพยาธิให้พร้อมในช่วงก่อนที่จะคาดว่าสุนัข จะเป็นสัด เนื่องจากสุนัขตั้งท้องไม่ควรได้รับการฉีดวัควีนโดยเฉพาะวัคซีนเชื้อเป็น หรือไม่ควรได้รับยาใด ๆ โดยไม่จำเป็น
การให้อาหารสุนัขตั้งท้องควรให้ในปริมาณที่เหมาะสมร่วมกับการออกกำลังกาย เบา ๆ เพื่อลดโอกาสเสี่ยงของภาวะการคลอดยาก ลูกสุนัขในท้องจะเพิ่มขนาดอย่างรวดเร็วในช่วง 5 ? 4 สัปดาห์ก่อนคลอด แม่สุนัขจะมีน้ำหนักเพิ่มประมาณ 25 - 55 % การให้อาหารจึงควรค่อย ๆ เพิ่มปริมาณอาหาร โดยเลือกอาหารที่มีโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และเกลือแร่ที่เพิ่มขึ้น ให้ปริมาณมากขึ้นในแต่ละมื้อหรือเพื่มจำนวนมื้อให้กินบ่อยขึ้น แม่สุนัขส่วนใหญ่เมื่อเข้าสู่ระยะใกล้คลอดจะแสดงอาการเบื่ออาหาร การเสริมแคลเซียมแทบจะไม่จำเป็นเลยถ้าสุนัขได้รับอาหารสำเร็จรูปที่ดีและมี ความสมดุลของสารอาหารอยู่แล้ว เนื่องจากการให้แคลเซียมเสริมมากเกินไปอาจทำให้เกิดภาวะไข้น้ำนมและการคลอด ยากตามมาได้
การคาดคะเนวันคลอดของลูก
การวัดอุณหภูมิทางทวารหนักมีประโยชน์อย่างมากเนื่องจากการลดลงของ อุณหภูมิสัมพันธ์กับการลดลงของระดับปริมาณของฮอร์โมน progesterone อุณหภูมิในช่วงใกล้คลอดประมาณ 12 - 24 ชมก่อนคลอด ประมาณ 98.8 องศาเซลเซียส (อยู่ในช่วงระหว่าง 98.1 - 100 องศาเซลเซียส) แนะนำให้วัดอุณหภูมิทุก 3 ชม.และจดบันทึกให้เริ่มทำในช่วงก่อนคลอดประมาณ 3 วันล่วงหน้า
การสังเกตการคลอดของสุนัข
ระยะที่ 1 แม่สุนัขมีอาการเบื่ออาหาร กระวนกระวาย หอบมักเกิดขึ้นในช่วง 2 - 3 วันก่อนคลอด เต้านมขยายใหญ่มีน้ำนมไหลอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ 1 - 2 สัปดาห์จนถึงไม่กี่ชม.ก่อนคลอด มีพฤติกรรมหาที่คลอด ในระยะที่ 1 อาจจะกินเวลายาวนานถึง 6 - 12 ชม. เป็นระยะที่มีการคลายตัวของช่องเชิงกรานและเริ่มมีการบีบตัวของมดลูกร่วมกับ การเปิดปากของปากมดลูก
ระยะที่ 2 ปากมดลูกขยายเต็มที่ ลูกสุนัขจะริ่มขยับตัวมาตามปากมดลูกและช่องคลอด การบีบตัวของมดลูกจะเกิดกับตัวลูกสุนัขเฉพาะตัวที่อยู่ใกล้ปากมดลูกมากที่ สุด เมื่อลูกสุนัขคลอดออกมาจะมีรกชั้นในห่อหุ้มตัว ส่วนชั้นนอกมักจะฉีกขาดเมื่อลูกสุนัขมาถึงปากมดลูกแม่สุนัขช่วยกัดหรือผู้ เลี้ยงอาจช่วยฉีกรกชั้นในให้ แต่ลูกสุนัขบางตัวอาจจะออกมาพร้อมรกทั้งสองชั้นหรือไม่มีเลยก็ได้ แม่สุนัขจะเลียลูกสุนัขเพื่อกระตุ้นการหายใจ ทำความสะอาดและกัดสายสะดือให้ลูก ในกรณีที่แม่ช่วยลุกไม่เป็น ผู้เลี้ยงต้องช่วยโดยผูกสายสะดือและตัดให้เหลือประมาณ 1 นิ้ว แต้มปลายสายสะดือด้วยทิงเจอร์ไอโอดีนและใช้ลูกยางดูดเสมหะและของเหลวออกจาก จมูกและปากร่วมกับการใช้ผ้าสะอาแช็ดและถุตัวเบา ๆ ให้ลูกสุนัข ลุกสุนัขแต่ละตัวควรคลอดออมาห่างกันประมาณ 30 นาทีถึง 1 ชม.บางครั้งอาจยาวนานถึง 4 ชม. การคลอดจะสมบูรณ์ในเวลาประมาณ 6 ชม.แต่แม่สุนัขบางตัวอาจคลอดลูกยาวนานถึง 24 ชม.ได้
ระยะที่ 3 เป็นช่วงขับรก รกของลูกสุนัขแต่ละตัวมักจะออกมาพร้อมกับลูกในระยะที่ 2 อยู่แล้ว หรือออกตามหลังการคลอดของแต่ละตัวในเวลาประมาณ 5 - 15 นาที โดยทั่วไปการเกิดภาวะรกค้างในสุนัขเกิดขขึ้นได้น้อยมาก
แม่สุนัขหลังคลอดจะมีน้ำคร่ำในช่วง 3 สัปดาห์แรกภายหลังการคลอด
การดูแลและจัดการลูกสุนัขแรกคลอด
ลูกสุนัขมักจะกินนมทุก 2 - 3 ชม. ถ้าลูกสุนัขกินนมอิ่มจะนอนสุมกัน ท้องขยายใหญ่ แต่ถ้าหิวนมจะร้อง ไม่ยอมนอน ในลูกสุนัขที่ไม่ได้กินนนมแม่หรือแม่สุนัขมีนมไม่พอ ต้องให้นมผงสำหรับลูกสุนัขเสริม โดยอาจใช้ syringe หยดใส่ปากหรือใช้ขวดนมสำหรับลูกสุนัข พยายามอย่าให้สำลักเข้าหลอดลม ลูกสุนัขต้องการพลังงงานประมาณ 22 - 26 กิโลแคลอรีต่อน้ำหนักตัว 100 กรัม เมื่ออายุ 2 - 3 สัปดาห์น้ำหนักควรเพิ่ม 10 - 15% ต่อวัน
ลูกสุนัขที่เกิดใหม่มักมีอุณหภูมิร่างกายค่อนข้างต่ำ แนะนำให้กกไฟ 60 วัตต์ ห่างจากลูกสุนัข 1 ฟุต อย่าให้ร้อนเกินไปเพราะจะเกิดภาวะแห้งน้ำ ลูกสุนัขแรกคลอดมักเกิดภาวะน้ำตาลต่ำได้ง่าย ดังนั้นควรแน่ใจว่าแม่สุนัขมีปริมาณน้ำนมเพียงพอ ระบบภูมิคุ้มกันของลูกสุนัขแรกคลอดยังไม่สมบูรณ์ส่วนมากจะได้มาจากนมน้ำ เหลืองจากแม่สุนัข 3 วันแรกหลังคลอด
จากบทความจะทราบว่าวิธีที่ดีที่สุดที่เจ้าของจะทราบว่าสุนัขของตนตั้ง ท้องก็คือ การไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจยืนยันว่าสุนัขตั้งท้องจริง ๆ และอาจนำวิธีจัดการดูแลที่แนะนำไปใช้ต่อไป
สัตวแพทย์หญิงนันทพร บัวแย้ม
โรงพยาบาลสัตว์ประศุอาทร
เครดิตภาพ
No comments:
Post a Comment