การฝึกสุนัขให้เชื่อฟังคำสั่งเป็นสิ่งที่เจ้าของควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ สุนัขที่ยังไม่เคยผ่านการฝึกอาจเป็นอันตรายกับเจ้าของได้ โดยเฉพาะสุนัขพันธุ์ใหญ่และนิสัยดุร้าย
ส่วนใหญ่สุนัขมักจะสนุกสนาน พอใจเมื่อเจ้าของเล่นและเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด เว้นแต่สุนัขที่มีนิสัยก้าวร้าว และไม่ยอมเป็นผู้ตามจะฝึกยาก
การฝึกสุนัขจะช่วยให้สุนัขแสดงพฤติกรรมที่ดีและลดนิสัยที่ไม่พึงประสงค์ เจ้าของสามารถฝึกสุนัขด้วยตัวเองได้ แต่ต้องใช้เวลาและความอดทน
โดยเริ่มฝึกลูกสุนัขได้ตั้งแต่อายุ 2 เดือนขึ้นไป เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับคำสั่ง เริ่มจากแบบง่ายๆ เช่น การเรียกชื่อสุนัข การสั่งให้นั่ง หรือหมอบ เป็นต้น
คำสั่งพื้นฐานในการฝึกสุนัข
1.
การฝึกให้ลูกสุนัขรู้จักชื่อ ขณะที่เล่นกับลูกสุนัข ให้เรียกชื่อหลายๆ ครั้ง
ควรตั้งชื่อสุนัขแบบสั้นๆ (ไม่ควรเกิน 2 พยางค์)
เพื่อให้สุนัขจำชื่อได้ง่ายขึ้น
2.
การฝึกให้สุนัขนั่งลง อาจใช้อาหารเพื่อเรียกความสนใจของลูกสุนัข
โดยให้ถือภาชนะที่ใส่อาหารไว้เหนือหัวสุนัข เมื่อเห็นว่าสุนัขนั่งลงเพื่อมองภาชนะที่ใส่อาหาร
ก็ให้พูดว่า “นั่ง” แล้วให้อาหารนั้นเป็นรางวัล
3.
การฝึกให้สุนัขหมอบลง ให้เจ้าของและลูกสุนัขอยู่ในท่านั่งก่อน
แล้วออกคำสั่งให้ “หมอบ” พร้อมใช้ฝ่ามือตบลงบนพื้นข้างหน้าของลูกสุนัขเบาๆ
ถ้าสุนัขไม่เข้าใจคำสั่งก็ให้กดลำตัวลูกสุนัขพร้อมดึงขาคู่หน้างอย่างนุ่มนวลจนเป็นท่าหมอบที่ถูกต้อง
แล้วกล่าวชมเชย
หลักการฝึกสุนัขแบบสบายๆ
มี 4 ขั้นตอน
** อย่าฝึกนาน
ควรใช้เวลาฝึกระยะสั้นๆ แต่ละครั้งไม่ควรเกิน 10 นาที
และมีเวลาช่วงพักละ 5 นาที
** อย่าลงโทษ
อย่าดุหรือลงโทษสุนัขจนกลัวลนลาน ควรฝึกให้สุนัขมีความสนุกจะเป็นการดี
** สั่งให้ชัดเจน
การออกคำสั่งให้สุนัขทำตาม ต้องคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง สุนัขจะไม่สับสน
** ควรให้รางวัล
ต้องทำทันทีและทุกครั้งที่สุนัขทำตามคำสั่งได้ถูกต้อง เช่น
กล่าวชมว่าดีมากหรือลูบหัว เป็นต้น
นสพ. ภัทร์พงศ์
จันทร์เจริญ
นายสัตวแพทย์ชำนาญการ
สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
สำนักอนามัย กทม.
เอกสารอ้างอิง
อัจฉริยา
ไศละสุต,
เลี้ยงแมวหมาประสาหมอ
No comments:
Post a Comment