Friday, February 8, 2013

วิธีดูแลสุนัขที่ถูกต้อง





           เพื่อให้สุนัขของท่านมีสุขภาพดี และมีความสุข สุนัขจำเป็นที่จะได้รับโภชนาการที่ให้ความสมดุลต่อร่างกาย การดูแลรักษาจากสัตวแพทย์โดยสม่ำเสมอ การออกกำลังกาย และที่สำคัญคือการได้ความรักความเอ็นดูจากเจ้าของ
 
ที่อยู่อาศัย

           **สุนัขที่อยู่นอกบ้านควรจะมีที่กำบังจากแดด ฝน และลมหนาว

           **สุนัขต้องการที่หลับนอนที่อบอุ่น/เย็นสบาย

           **ถ้าจะผูกสุนัขไว้ ควรใช้เชือก/โซ่ยาว โปรดระวังโซ่หรือเชือกจะพันรอบตัวสุนัขทำให้ได้รับความเจ็บปวด

การให้อาหารและน้ำดื่ม

           **สุนัข ต้องการสารอาหารเพื่อสร้างสมดุลร่าง กาย ประกอบด้วย โปรตีน และไฟเบอร์ อาหารเหลือจากครัวเรือน ย่อมไม่เพียงพอที่จะสร้างความแข็งแรง และรักษาสุขภาพที่ดีของร่างกายสุนัขได้

           **อาหารที่เป็นเศษกระดูกแหลมคม อาจจะทิ่มลำคอหรือก่อให้เกิดปัญหาในลำไส้ ถ้าสุนัขกลืนเข้าไป

           **น้ำควรจะมีให้สุนัขได้ดื่มกินเสมอในภาชนะที่สะอาด
การออกกำลังกาย    

           **ไม่ควรผูกสุนัขไว้ตลอดเวลา เพราะสุนัขต้องการออกกำลังกายสม่ำเสมอ

           **ควร ให้สุนัขได้มีโอกาสออกเดินในแต่ละวัน หรือเล่นสนุกกับของเล่นหรือลูกบอล ซึ่งจะทำให้สุนัข กระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่า ไม่ซึมเศร้า

           **สุนัขที่ถูกกักไว้มักจะเห่าหอนรบกวนเพื่อนบ้าน

อนามัย 

           **สุนัขที่ไม่ได้รับการเหลียวแล มักจะเกิด ไร ริ้น หมัด เหา และสัตว์กินเลือดต่างๆรบกวน โปรดปรึกษากับสัตวแพทย์

           **รักษาสุนัขและที่อยู่อาศัยของเขาให้สะอาดเสมอ

การฉีดวัคซีน    

           **สุนัขมักจะมีความเสี่ยงจากโรคร้ายต่างๆ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุนัข และทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการรักษา

           **การทำวัคซีนสุนัขจะช่วยป้องกันสุนัขเจ็บป่วยหรือเกิดโรค ซึ่งอาจแพร่ระบาดไปยังสุนัขตัวอื่นๆได้
 
     
การขยายพันธุ์สุนัข    

           **ทุกๆ ปี สุนัขเป็นจำนวนนับพันนับหมื่นถูกทำลาย เพราะไม่มีที่อยู่อาศัยที่เพียงพอ

           **สุนัข เพศเมียสามารถให้กำเนิดลูกสุนัขได้ เป็นจำนวนหลายๆ ตัวในแต่ละปี ภายในระยะเวลา 6 ปี สุนัขแต่ละคู่สามารถผลิตลูกได้ถึง 67,000 ตัว โดยการให้กำเนิดและเลี้ยงลูก

           **แม่สุนัขจะมีสุขภาพทรุดโทรมลง

           **แม่สุนัขที่ตั้งท้อง ย่อมต้องการอาหารเป็นพิเศษ


           **ลูกสุนัขตามปกติจะกินน้ำนมจากแม่ประมาณ 3 สัปดาห์ แล้วจะเริ่มกินอาหารได้ด้วยตัวเอง

           **แม่สุนัขตามปกติจะดุและหวงลูกๆในช่วงเวลาดังกล่าว จึงควรจัดสถานที่ที่เงียบสงบปราศจากการรบกวนให้แม่สุนัขกับลูกๆได้อยู่

           **เพื่อป้องกันในกรณีที่ไม่ต้องการลูกสุนัข โปรดนำสุนัขของท่านไปตอน/ทำหมัน จากสัตวแพทย์

การแปรงและทำความสะอาดขน    

           **การแปรงขนเป็นประจำจะทำให้สุนัขสะอาดปราศจากกลิ่นหมักหมมแลดูเรียบร้อยและในขณะเดียวกันจะช่วยตรวจสอบพวกปรสิตได้

           **การแปรงขนจะช่วยให้สุนัขเกิดความเคยชินเป็นนิสัยอีกด้วย
 
      
การทำหมัน    

           **เครื่องมือและเวชภัณฑ์แพทย์สมัยใหม่ทำให้การผ่าตัดปลอดภัย ไม่เจ็บปวด แต่ฟื้นตัวเร็ว

           **ปรดสอบถามกับสัตวแพทย์ว่าเมื่อใดที่เหมาะสมที่จะทำหมันและฉีดยาให้สุนัข

           **สุนัขของท่านไม่จำเป็นที่จะรอให้ถึงระยะมีระดูก่อนทำหมัน

           **การทำหมันตั้งแต่ต้นอายุ 8 สัปดาห์ ขณะนี้กำลังเป็นที่นิยมโดยทั่วไป

           **เมื่อสุนัขตัวเมียได้ทำหมัน ก็จะไม่กลับมาเป็นสัดอีก และจะไม่เป็นที่สนใจของสุนัขตัวผู้

           **การทำหมันสุนัขตัวเมียสามารถช่วยลดความเสี่ยงเนื้องอกในเต้านมสุนัขได้

           **นอกจากนี้ การทำหมันยังช่วยลดอาการดุร้ายและการเตร็ดเตร่ออกนอกบ้าน


ปรึกษาสัตวแพทย์ในกรณีต่อไปนี้    

           **โภชนาการสุนัข การฝึกสุนัข

           **การรักษาป้องกันพวกเชื้อโรคปรสิต

           **การทำวัคซีน

           **การตอน/ทำหมัน

           **เรื่องอันเกี่ยวกับสุขภาพสุนัขโดยทั่วไป



แหล่งที่มา  http://pet.kapook.com, (TSCPA)
เครดิตภาพ  https://www.pinterest.com/e_brown13/pets-probably-puppies/

No comments:

Post a Comment