โดยปกติแล้ว ในหน้าร้อนจะมีโรคหลายโรคที่เป็นอันตรายและทำให้สุนัขเกิดอาการป่วยตามมา
ไม่ว่าจะเกิดจากอาหารที่สุนัขกิน พฤติกรรมบางอย่างที่โน้มนำให้เกิดโรค หรือลักษณะเฉพาะของสายพันธุ์แต่ละสายพันธุ์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้วเมื่อมีอากาศที่ร้อนจัดเจ้าของสัตว์หลายคนมักชอบให้ สุนัขกินน้ำและอาหารเยอะ
ซึ่งอาจเป็นอันตรายแก่สัตว์เลี้ยงของตนได้อย่างไม่คาดคิด
บทความในตอนนี้จะกล่าวถึงโรคที่เป็นอันตรายและอาจส่งผลให้สุนัขเสียชีวิตได้เป็นอันดับต้น ๆ นั่นก็คือ "โรคกระเพาะบิด" (Gastric dilatation and volvulus)
โรคกระเพาะบิด (Gastric dilatation and volvulus)
โรคกระเพาะบิด หรือเรียกสั้น ๆ ว่า GDV คือภาวะที่กระเพาะอาหารเกิดการขยายขนาดขึ้นอย่างรวดเร็วจากการสะสมของแก๊ส น้ำ หรืออาหารที่สุนัขกินเข้าไปในปริมาณที่มากกว่าปกติ หรือที่เรียกว่า ภาวะท้องอืด ในคนนั่นเอง และเมื่อกระเพาะอาหารมีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นระยะเวลานานร่วมกับกิจกรรมของสุนัข หรือภาวะบางอย่างที่โน้มนำทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของกระเพาะอาหารที่ผิดปกติ ไป โดยอาจเกิดการบิดหมุนของกระเพาะอาหารบางส่วนไปตามเข็มนาฬิกา ซึ่งสามารถเกิดการบิดตัวของกระเพาะได้ตั้งแต่ 180-270 องศา ส่งผลให้เกิดการอุดตันของหลอดอาหารและส่วนปลายของกระเพาะอาหาร จึงไม่สามารถที่จะระบายแก๊สหรือของเหลวดังกล่าวได้
ทั้งนี้ สาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดความผิดปกตินี้ยังไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัด ว่า เกิดจากการที่กระเพาะขยายขนาดก่อนแล้วค่อยเกิดการบิดหมุน หรือเกิดการบิดหมุนหรือการขัดขวางการบีบตัวของกระเพาะอาหารก่อนแล้วค่อยทำ ให้กระเพาะขยายตามมา
อาการของโรคกระเพาะบิด
GDV เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน โดยอาการเริ่มแรกที่เป็นสัญญาณเตือนภัยให้เจ้าของสัตว์สังเกตความผิดปกติของ สุนัขที่ตนเลี้ยงว่าเข้าข่ายโรคกระเพาะบิดก็คือ สุนัขที่ปกติสุขภาพแข็งแรงดี และใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ แต่อยู่ ๆ ก็มีขนาดของช่องท้องขยายใหญ่ขึ้น โดยเฉพาะช่องท้องส่วนต้นจะโป่งพองมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็ว เมื่อใช้มือเคาะตรงบริเวณท้องที่โป่งพองขึ้นจะได้ยินเสียงที่จำเพาะ เหมือนคนตีกลอง (เป็นเสียงที่เกิดจากการสะท้อนของแก๊สที่สะสมในกระเพาะอาหาร) ร่วมกับสุนัขจะแสดงอาการ ดังนี้
**กระสับกระส่าย หายใจเร็ว และหายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็วโก่งตัว
**ทำท่าทางคล้ายจะอาเจียน แต่ไม่มีอะไรออกมา
**น้ำลายไหลเยอะกว่าปกติ
**สีของเยื่อเมือกหรือเหงือกเริ่มแดง
**เมื่อเวลาผ่านไปสุนัขจะเริ่มมีอาการเซื่องซึมปวดท้อง
**ถ้าเกิดการบิดตัวของกระเพาะอาหารร่วมด้วย สุนัขจะเริ่มมีอาการโคม่าและมีโอกาสช็อกสูงมาก
**สำหรับเจ้าของสัตว์ ถ้าพบลักษณะดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ให้สันนิษฐานว่าสุนัขของตนกำลังอยู่ ในภาวะฉุกเฉินและให้รีบนำสุนัขส่งโรงพยาบาลสัตว์ใกล้เคียงให้เร็วที่สุด
ส่วนใหญ่โรคกระเพาะบิดมักมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 25-33% สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่เจ้าของสัตว์นำสุนัขส่งถึงมือ สัตวแพทย์ไม่ทัน เพราะอาจสังเกตเห็นอาการผิดปกติเมื่อสุนัขเป็นมานานหลายชั่วโมง และสุนัขเริ่มมีอาการโคม่าแล้ว กลไกการเกิดภาวะนี้มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและส่งผลเสียต่อระบบร่าง กายหลายระบบ คือ...
เมื่อกระเพาะอาหารมีขนาดใหญ่ขึ้น จะไปกดการไหลเวียนของหลอดเลือดที่จะนำเลือดไปสู่หัวใจส่งผลให้ปริมาณเลือด เข้าสู่หัวใจลดลง และทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ เกิดภาวะความดันต่ำ ร่างกายขาดเลือดและสารน้ำอย่างรุนแรงจนเกิดภาวะช็อกตามมา ร่างกายจึงส่งสัญญาณให้หัวใจทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย ในขณะที่ปริมาณเลือดที่เข้าสู่หัวใจลดลง ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเกิดการขาดเลือดและทำงานผิดปกติไป ส่งผลให้เกิดการปรับตัวของหัวใจห้องล่างให้ส่งสัญญาณกระตุ้นการเต้นของกล้าม เนื้อหัวใจขึ้น เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะและไม่สม่ำเสมอ
ในขณะเดียวกันกระเพาะที่ขยายขนาดขึ้นจะไปกดกล้ามเนื้อกระบังลมทำให้เกิดภาวะ หายใจลำบาก และขาดออกซิเจนตามมา ถ้าเกิดภาวะกระเพาะบิดด้วยแล้วมีโอกาสทำให้กระเพาะขยายใหญ่มากจนเกิดการฉีก ขาดของกล้ามเนื้อกระเพาะอาหาร หรือทำให้ผนังกระเพาะยึดมากจนเปื่อย เวลาที่ทำการรักษาโดยสอดท่อระบายแก๊สมีโอกาสทำให้ผนังกระเพาะทะลุตามมาด้วย ผลกระทบที่ตามมาหลังจากเกิดความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือดร่วมกับการ ขาดออกซิเจน อาจส่งผลทำให้ผนังของกระเพาะอาหารเกิดเป็นเนื้อตาย และอวัยวะข้างเคียงเกิดความเสียหาย เช่น ตับและม้ามโตและขาดเลือด เป็นต้น
บทความในตอนนี้จะกล่าวถึงโรคที่เป็นอันตรายและอาจส่งผลให้สุนัขเสียชีวิตได้เป็นอันดับต้น ๆ นั่นก็คือ "โรคกระเพาะบิด" (Gastric dilatation and volvulus)
โรคกระเพาะบิด (Gastric dilatation and volvulus)
โรคกระเพาะบิด หรือเรียกสั้น ๆ ว่า GDV คือภาวะที่กระเพาะอาหารเกิดการขยายขนาดขึ้นอย่างรวดเร็วจากการสะสมของแก๊ส น้ำ หรืออาหารที่สุนัขกินเข้าไปในปริมาณที่มากกว่าปกติ หรือที่เรียกว่า ภาวะท้องอืด ในคนนั่นเอง และเมื่อกระเพาะอาหารมีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นระยะเวลานานร่วมกับกิจกรรมของสุนัข หรือภาวะบางอย่างที่โน้มนำทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของกระเพาะอาหารที่ผิดปกติ ไป โดยอาจเกิดการบิดหมุนของกระเพาะอาหารบางส่วนไปตามเข็มนาฬิกา ซึ่งสามารถเกิดการบิดตัวของกระเพาะได้ตั้งแต่ 180-270 องศา ส่งผลให้เกิดการอุดตันของหลอดอาหารและส่วนปลายของกระเพาะอาหาร จึงไม่สามารถที่จะระบายแก๊สหรือของเหลวดังกล่าวได้
ทั้งนี้ สาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดความผิดปกตินี้ยังไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัด ว่า เกิดจากการที่กระเพาะขยายขนาดก่อนแล้วค่อยเกิดการบิดหมุน หรือเกิดการบิดหมุนหรือการขัดขวางการบีบตัวของกระเพาะอาหารก่อนแล้วค่อยทำ ให้กระเพาะขยายตามมา
อาการของโรคกระเพาะบิด
GDV เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน โดยอาการเริ่มแรกที่เป็นสัญญาณเตือนภัยให้เจ้าของสัตว์สังเกตความผิดปกติของ สุนัขที่ตนเลี้ยงว่าเข้าข่ายโรคกระเพาะบิดก็คือ สุนัขที่ปกติสุขภาพแข็งแรงดี และใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ แต่อยู่ ๆ ก็มีขนาดของช่องท้องขยายใหญ่ขึ้น โดยเฉพาะช่องท้องส่วนต้นจะโป่งพองมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็ว เมื่อใช้มือเคาะตรงบริเวณท้องที่โป่งพองขึ้นจะได้ยินเสียงที่จำเพาะ เหมือนคนตีกลอง (เป็นเสียงที่เกิดจากการสะท้อนของแก๊สที่สะสมในกระเพาะอาหาร) ร่วมกับสุนัขจะแสดงอาการ ดังนี้
**กระสับกระส่าย หายใจเร็ว และหายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็วโก่งตัว
**ทำท่าทางคล้ายจะอาเจียน แต่ไม่มีอะไรออกมา
**น้ำลายไหลเยอะกว่าปกติ
**สีของเยื่อเมือกหรือเหงือกเริ่มแดง
**เมื่อเวลาผ่านไปสุนัขจะเริ่มมีอาการเซื่องซึมปวดท้อง
**ถ้าเกิดการบิดตัวของกระเพาะอาหารร่วมด้วย สุนัขจะเริ่มมีอาการโคม่าและมีโอกาสช็อกสูงมาก
**สำหรับเจ้าของสัตว์ ถ้าพบลักษณะดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ให้สันนิษฐานว่าสุนัขของตนกำลังอยู่ ในภาวะฉุกเฉินและให้รีบนำสุนัขส่งโรงพยาบาลสัตว์ใกล้เคียงให้เร็วที่สุด
ส่วนใหญ่โรคกระเพาะบิดมักมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 25-33% สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่เจ้าของสัตว์นำสุนัขส่งถึงมือ สัตวแพทย์ไม่ทัน เพราะอาจสังเกตเห็นอาการผิดปกติเมื่อสุนัขเป็นมานานหลายชั่วโมง และสุนัขเริ่มมีอาการโคม่าแล้ว กลไกการเกิดภาวะนี้มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและส่งผลเสียต่อระบบร่าง กายหลายระบบ คือ...
เมื่อกระเพาะอาหารมีขนาดใหญ่ขึ้น จะไปกดการไหลเวียนของหลอดเลือดที่จะนำเลือดไปสู่หัวใจส่งผลให้ปริมาณเลือด เข้าสู่หัวใจลดลง และทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ เกิดภาวะความดันต่ำ ร่างกายขาดเลือดและสารน้ำอย่างรุนแรงจนเกิดภาวะช็อกตามมา ร่างกายจึงส่งสัญญาณให้หัวใจทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย ในขณะที่ปริมาณเลือดที่เข้าสู่หัวใจลดลง ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเกิดการขาดเลือดและทำงานผิดปกติไป ส่งผลให้เกิดการปรับตัวของหัวใจห้องล่างให้ส่งสัญญาณกระตุ้นการเต้นของกล้าม เนื้อหัวใจขึ้น เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะและไม่สม่ำเสมอ
ในขณะเดียวกันกระเพาะที่ขยายขนาดขึ้นจะไปกดกล้ามเนื้อกระบังลมทำให้เกิดภาวะ หายใจลำบาก และขาดออกซิเจนตามมา ถ้าเกิดภาวะกระเพาะบิดด้วยแล้วมีโอกาสทำให้กระเพาะขยายใหญ่มากจนเกิดการฉีก ขาดของกล้ามเนื้อกระเพาะอาหาร หรือทำให้ผนังกระเพาะยึดมากจนเปื่อย เวลาที่ทำการรักษาโดยสอดท่อระบายแก๊สมีโอกาสทำให้ผนังกระเพาะทะลุตามมาด้วย ผลกระทบที่ตามมาหลังจากเกิดความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือดร่วมกับการ ขาดออกซิเจน อาจส่งผลทำให้ผนังของกระเพาะอาหารเกิดเป็นเนื้อตาย และอวัยวะข้างเคียงเกิดความเสียหาย เช่น ตับและม้ามโตและขาดเลือด เป็นต้น
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิด โรคกระเพาะบิด
1. สายพันธุ์ GDV มักพบในสุนัขสายพันธ์ใหญ่ (large and giant breed) เช่น พันธุ์เกรทเดน (Great Dane) เซนต์ เบอร์นาร์ด (Saint Bernard) โกลเดน รีทรีฟเวอร์ (Golden Retriever) บ็อกเซอร์ (Boxer) โดเบอร์แมนน์ (Dobermann Pinscher) ร็อตต์ไวเลอร์ (Rottweiler) บัสเซ้ทฮาวนด์ (Basset Hound) เยอรมัน เชพเพิร์ด (German Shepherd) คอลลี่ (Collie) ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ (Labrador Retriever) และดัชชุนด์ (Dachshund) เป็นต้น
แต่อาจจะพบโรคนี้ได้ในสุนัขสายพันธุ์กลาง เช่น พันธุ์ชาร์ไป่ (Shar Pei) เชาเชา (Chao Chao) ค็อกเกอร์ (Cocker Spaniel) เป็นต้น มีบางรายงานพบโรคนี้ในสุนัขสายพันธุ์เล็กได้แต่น้อยมาก ดังนั้นถ้าเจ้าของสัตว์ท่านใดที่เลือกเลี้ยงสุนัขสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยง ข้างต้นนี้ควรทำความเข้าใจในอาการและกลไกการเกิดโรคนี้อย่างถ่องแท้ ในต่างประเทศนิยมทำการผ่าตัดเพื่อเย็บผนังกระเพาะอาหารของสุนัขที่มีสาย พันธุ์ดังกล่าว ให้ติดกับผนังช่องท้อง เรียกว่าวิธี Gastropexy โดยเฉพาะในเพศเมียนิยมทำในขณะทำการผ่าตัดทำหมัน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะกระเพาะบิดในภายหลัง
2. ลักษณะโครงร่างของร่างกาย GDV มักพบในสุนัขพันธุ์ที่มีชี่องอกแคบและลึก เช่น พันธุ์เกรทเดน (Great Dane) เป็นต้น
3. พันธุกรรม GDV เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม สุนัขที่มีประวัติว่าสายพันธุ์ของตนเคยเป็นโรคนี้มาก่อนไม่ควรนำมาเป็นพ่อ พันธุ์หรือแม่พันธุ์
4. อายุ สุนัขที่อายุมากกว่า 7 ปี มีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าสุนัขอายุ 2-4 ปีถึงสองเท่า
5. เพศ สุนัขเพศผู้มีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าสุนัขเพศเมียถึงสองเท่า และมีรายงานว่าสุนัขที่ทำหมันแล้วมีโอกาสการเกิดโรคน้อยลง
6. น้ำหนัก น้ำหนักของร่างกายที่ตำกว่าเกณฑ์มาตรฐานมีความเสี่ยงในการเป็นโรคมากกว่า
7. ลักษณะนิสัยในการกินอาหาร GDV มักพบในสุนัขที่กินอาหารมื้อเดียวต่อวัน ทำให้สุนัขเกิดอาการหิวได้ง่าย จึงมีนิสัยชอบกินอาหารเร็ว และกินเอยะซึ่งจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้มากกว่า รวมทั้งสุนัขที่ชอบวิ่ง กลิ้งตัวหรือให้ออกกำลังกายอย่างหนักในทันที หลังจากที่กินอาหารมามักเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด GDV ได้บ่อยที่สุด
ดังนั้น วิธีป้องกันคือแบ่งให้อาหาร 2-3 มื้อต่อวัน และงดกิจกรรมการออกกำลังกายต่าง ๆ ทั้งก่อนและภายหลังการกินอาหาร และไม่ควรให้กินน้ำในทันทีหลังจากให้อาหารสุนัข โดยทั่วไปควรรอประมาณ 1-2 ชั่วโมง ควรฝึกให้สุนัขมีนิสัยการกินที่ช้าลงในบางที่มีการออกแบบชามอาหารให้สุนัข กินอาหารได้ลำบากขึ้นด้วย แต่มักไม่ค่อยได้ผลนัก และในช่วงหน้าร้อนเนื้ออย่าให้สุนัขกินน้ำหรืออาหารมากเกินไป เพราะจะทำให้กระเพาะมีน้ำหนักมาก และเกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้สูง
8. ลักษณะและคุณภาพของอาหาร การให้อาหารที่มีแบบเดียวกันและขนาดเล็กกว่า 3 เซนติเมตร จะทำให้สุนัขมีนิสัยที่กินเร็ว ชนิดของอาหารรวมทั้งองค์ประกอบของไขมันความชื้น หรือปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลถึงการย่อยอาหาร อาจทำให้เกิดภาวะท้องอืดได้ จึงควรให้อาหารที่มีคุณภาพดี สดใหม่ และมีองค์ประกอบของโปรตีนอย่างน้อย 30% มีไฟเบอร์ อย่างน้อย 3% และมีปริมาณไขมันต่ำ หลีกเลี่ยงพืชตระกูลถั่วและยีสต์
9. การแสดงออกทางอารมณ์ ถ้าเลี้ยงสุนัขหลายตัวในบ้าน การให้อาหารในบริเวณเดียวกันพร้อมๆ กันอาจทำให้สุนัขรีบกินอาหาร หรือเกิดความเครียดได้ จึงควรแยกให้อาหารแต่ละตัวไม่ให้มองเห็นกันได้จะดีกว่า สุนัขที่มีความเครียด มีนิสัยขี้กลัว หรือชอบอาละวาด ยกตัวอย่างเช่น สุนัขอยู่ระหว่างการเดินทาง หรือสุนัขที่เพิ่งปล่อยจากการถูกขังในกรงนานๆ หรือเวลาที่จะนำสุนัขมาโรงพยาบาลและต้องมีการจับบังคับ จะเพิ่มความเครียดแก่สุนัข ส่งผลให้การบีบตัวของกระเพาะอาหารลดลงจึงเพิ่มความเสี่ยงในการเป็น GDV มากกว่า
10. โรคหรือความผิดปกติที่เคยพบมาก่อน เช่น โรคที่เกิดความผิดปกติ ของม้ามจนต้องทำการตัดม้ามออกทั้งหมดหรือโรค IBD (Inflammatory Bowel Disease) มักทำให้ตำแหน่งของกระเพาะอาหารอยู่ผิดที่ และเกิดการบิดหมุนได้ง่ายหรือความผิดปกติที่เกิดจากการหย่อนหรือตึงเกินไป ของเอ็นที่ยืดกระเพาะก็ส่งผลให้เกิด GDV ได้เช่นเดียวกัน
1. สายพันธุ์ GDV มักพบในสุนัขสายพันธ์ใหญ่ (large and giant breed) เช่น พันธุ์เกรทเดน (Great Dane) เซนต์ เบอร์นาร์ด (Saint Bernard) โกลเดน รีทรีฟเวอร์ (Golden Retriever) บ็อกเซอร์ (Boxer) โดเบอร์แมนน์ (Dobermann Pinscher) ร็อตต์ไวเลอร์ (Rottweiler) บัสเซ้ทฮาวนด์ (Basset Hound) เยอรมัน เชพเพิร์ด (German Shepherd) คอลลี่ (Collie) ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ (Labrador Retriever) และดัชชุนด์ (Dachshund) เป็นต้น
แต่อาจจะพบโรคนี้ได้ในสุนัขสายพันธุ์กลาง เช่น พันธุ์ชาร์ไป่ (Shar Pei) เชาเชา (Chao Chao) ค็อกเกอร์ (Cocker Spaniel) เป็นต้น มีบางรายงานพบโรคนี้ในสุนัขสายพันธุ์เล็กได้แต่น้อยมาก ดังนั้นถ้าเจ้าของสัตว์ท่านใดที่เลือกเลี้ยงสุนัขสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยง ข้างต้นนี้ควรทำความเข้าใจในอาการและกลไกการเกิดโรคนี้อย่างถ่องแท้ ในต่างประเทศนิยมทำการผ่าตัดเพื่อเย็บผนังกระเพาะอาหารของสุนัขที่มีสาย พันธุ์ดังกล่าว ให้ติดกับผนังช่องท้อง เรียกว่าวิธี Gastropexy โดยเฉพาะในเพศเมียนิยมทำในขณะทำการผ่าตัดทำหมัน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะกระเพาะบิดในภายหลัง
2. ลักษณะโครงร่างของร่างกาย GDV มักพบในสุนัขพันธุ์ที่มีชี่องอกแคบและลึก เช่น พันธุ์เกรทเดน (Great Dane) เป็นต้น
3. พันธุกรรม GDV เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม สุนัขที่มีประวัติว่าสายพันธุ์ของตนเคยเป็นโรคนี้มาก่อนไม่ควรนำมาเป็นพ่อ พันธุ์หรือแม่พันธุ์
4. อายุ สุนัขที่อายุมากกว่า 7 ปี มีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าสุนัขอายุ 2-4 ปีถึงสองเท่า
5. เพศ สุนัขเพศผู้มีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าสุนัขเพศเมียถึงสองเท่า และมีรายงานว่าสุนัขที่ทำหมันแล้วมีโอกาสการเกิดโรคน้อยลง
6. น้ำหนัก น้ำหนักของร่างกายที่ตำกว่าเกณฑ์มาตรฐานมีความเสี่ยงในการเป็นโรคมากกว่า
7. ลักษณะนิสัยในการกินอาหาร GDV มักพบในสุนัขที่กินอาหารมื้อเดียวต่อวัน ทำให้สุนัขเกิดอาการหิวได้ง่าย จึงมีนิสัยชอบกินอาหารเร็ว และกินเอยะซึ่งจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้มากกว่า รวมทั้งสุนัขที่ชอบวิ่ง กลิ้งตัวหรือให้ออกกำลังกายอย่างหนักในทันที หลังจากที่กินอาหารมามักเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด GDV ได้บ่อยที่สุด
ดังนั้น วิธีป้องกันคือแบ่งให้อาหาร 2-3 มื้อต่อวัน และงดกิจกรรมการออกกำลังกายต่าง ๆ ทั้งก่อนและภายหลังการกินอาหาร และไม่ควรให้กินน้ำในทันทีหลังจากให้อาหารสุนัข โดยทั่วไปควรรอประมาณ 1-2 ชั่วโมง ควรฝึกให้สุนัขมีนิสัยการกินที่ช้าลงในบางที่มีการออกแบบชามอาหารให้สุนัข กินอาหารได้ลำบากขึ้นด้วย แต่มักไม่ค่อยได้ผลนัก และในช่วงหน้าร้อนเนื้ออย่าให้สุนัขกินน้ำหรืออาหารมากเกินไป เพราะจะทำให้กระเพาะมีน้ำหนักมาก และเกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้สูง
8. ลักษณะและคุณภาพของอาหาร การให้อาหารที่มีแบบเดียวกันและขนาดเล็กกว่า 3 เซนติเมตร จะทำให้สุนัขมีนิสัยที่กินเร็ว ชนิดของอาหารรวมทั้งองค์ประกอบของไขมันความชื้น หรือปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลถึงการย่อยอาหาร อาจทำให้เกิดภาวะท้องอืดได้ จึงควรให้อาหารที่มีคุณภาพดี สดใหม่ และมีองค์ประกอบของโปรตีนอย่างน้อย 30% มีไฟเบอร์ อย่างน้อย 3% และมีปริมาณไขมันต่ำ หลีกเลี่ยงพืชตระกูลถั่วและยีสต์
9. การแสดงออกทางอารมณ์ ถ้าเลี้ยงสุนัขหลายตัวในบ้าน การให้อาหารในบริเวณเดียวกันพร้อมๆ กันอาจทำให้สุนัขรีบกินอาหาร หรือเกิดความเครียดได้ จึงควรแยกให้อาหารแต่ละตัวไม่ให้มองเห็นกันได้จะดีกว่า สุนัขที่มีความเครียด มีนิสัยขี้กลัว หรือชอบอาละวาด ยกตัวอย่างเช่น สุนัขอยู่ระหว่างการเดินทาง หรือสุนัขที่เพิ่งปล่อยจากการถูกขังในกรงนานๆ หรือเวลาที่จะนำสุนัขมาโรงพยาบาลและต้องมีการจับบังคับ จะเพิ่มความเครียดแก่สุนัข ส่งผลให้การบีบตัวของกระเพาะอาหารลดลงจึงเพิ่มความเสี่ยงในการเป็น GDV มากกว่า
10. โรคหรือความผิดปกติที่เคยพบมาก่อน เช่น โรคที่เกิดความผิดปกติ ของม้ามจนต้องทำการตัดม้ามออกทั้งหมดหรือโรค IBD (Inflammatory Bowel Disease) มักทำให้ตำแหน่งของกระเพาะอาหารอยู่ผิดที่ และเกิดการบิดหมุนได้ง่ายหรือความผิดปกติที่เกิดจากการหย่อนหรือตึงเกินไป ของเอ็นที่ยืดกระเพาะก็ส่งผลให้เกิด GDV ได้เช่นเดียวกัน
วิธีการรักษา โรคกระเพาะบิด
จากที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ถ้าสงสัยว่า สุนัขมีปัจจัยเสี่ยง และมีอาการคล้ายกับโรคกระเพาะบิด ให้รีบนำสุนัขส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด เมื่อสัตวแพทย์ตรวจและประเมินสภาพร่างกายแล้ว ในขั้นตอนแรกสัตวแพทย์จะทำการให้สารน้ำและให้สุนัขดมออกซิเจนเพื่อแก้ไขภาวะ ช็อกก่อน จากนั้นควรตรวจดูว่าหัวใจมีการเต้นที่ผิดปกติหรือไม่ ถ้ามีควรรีบให้ยาในทันที จากนั้นควรรีบทำการระบายแก๊ส ของเหลว และอาหารที่สะสมออกจากกระเพาะโดยการสอดท่อเข้าทางปาก และทำการล้างท้องเพื่อระบายส่วนของอาหารที่มีการหมักอยู่ในกระเพาะออก
และควรรอให้สัตว์อยู่ในสภาวะที่คงที่ก่อนที่จะนำสุนัขเข้าห้องผ่าตัด โดยส่วนใหญ่จะประสบความสำเร็จในการผ่าตัดถ้าทำการแก้ไขภาวะช็อกได้ภายใน 1-2 ชั่วโมงหลังจากตรวจพบอาการ ในกรณีที่สอดท่อเข้าทางปากไม่ได้ เพราะมีการบิดหมุนอย่างถาวร ต้องใช้เข็มเจาะระบายแก๊สในกระเพาะออกก่อนและอาจต้องทำหลายครั้งในระหว่าง ที่รอแก้ไขภาวะช็อก เมื่อสุนัขอยู่ในสภาวะที่คงที่แล้วจึงรีบนำสุนัขเข้าห้องผ่าตัด
จุดประสงค์ในการผ่าตัดนั้น เพื่อแก้ไขตำแหน่งของกระเพาะอาหารให้กลับเข้าที่ และทำการตรวจสอบดูว่ากระเพาะอาหาร และม้ามมีความเสียหายมากน้อยแค่ไหน ถ้า เกิดเป็นเนื้อตายต้องทำการตัดส่วนนั้นทิ้งไป เพื่อป้องไม่ให้เกิดผลกระทบตามมาต่อระบบอื่น ๆ ของร่างกายเมื่อเกิดความเสียหายของอวัยวะนั้นๆ จากนั้นควรทำการเย็บตรึงผนังกระเพาะอาหารกับผนังช่องท้องอย่างถาวร เพื่อป้องกันการบิดตัวของกระเพาะที่มักจะเกิดขึ้นใหม่เสมอ
ภายหลังการผ่าตัดจำเป็นที่จะต้องให้สัตว์พักฟื้นที่โรงพยาบาลและต้องได้รับ การดูแลอย่างใกล้ชิดจากสัตวแพทย์เป็นเวลาอย่างน้อย 48 ชั่วโมง เพื่อให้สารน้ำ ให้ออกซิเจน และปรับสภาพเลือดในร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุล ควรตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อดูว่ามีการเต้นของหัวใจผิดจังหวะหรือไม่ ตรวจเช็คอุณหภูมิของร่างกายและความดันเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติคอยระมัดระวัง ผลแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น เช่น การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร การเกิดเนื้อตายของอวัยวะใกล้เคียง ตรวจเช็คการสร้างแก๊สขึ้นใหม่ในกระเพาะ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ผนังของกระเพาะอาหารยังหดตัวได้ไม่ดีพอภายหลังจากที่ มีการขยายขนาดมาก
นอกจากนี้ ต้องให้ยาแก้ปวดและยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อนตามมา ภายหลังการผ่าตัด 12 ชั่วโมงแรกควรเริ่มให้กินน้ำในปริมาณน้อยแต่วันละหลายครั้ง และเริ่มให้กินอาหารอ่อน ไขมันต่ำ ภายหลังการผ่าตัด ประมาณ 18-24 ชั่วโมง เพื่อฟื้นฟูและเริ่มให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น เมื่อสุนัขเริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติ เริ่มเดินได้กินน้ำและอาหารได้ปกติ จึงค่อยส่งสุนัขกลับบ้าน
หากเจ้าของสุนัขได้อ่านบทความนี้แล้ว หวังว่าเมื่อสุนัขป่วยด้วยโรคกระเพาะบิดจะมีอัตรารอดชีวิตที่ดีขึ้น เพราะส่วนใหญ่ความล้มเหลวในการรักษาโรคนี้เกิดตั้งแต่ที่เจ้าของนำสุนัขส่ง โรงพยาบาลช้าไป หากเกิดกระเพาะบิดมานานกว่า 6-12 ชั่วโมง โดยที่ไม่ได้รับการแก้ไขภาวะช็อกอัตราการตายอาจสูงถึง 50-80% ดังนั้น การทำความเข้าใจในอาการ กลไกการเกิดโรค ผลกระทบที่ตามมา รู้ถึงปัจจัยเสี่ยงและวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะกระเพาะบิด คงช่วยให้เจ้าของสามารถตระหนักและเข้าใจถึงภัยอันตรายเมื่อสุนัขของตนเป็น โรคนี้ได้
จากที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ถ้าสงสัยว่า สุนัขมีปัจจัยเสี่ยง และมีอาการคล้ายกับโรคกระเพาะบิด ให้รีบนำสุนัขส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด เมื่อสัตวแพทย์ตรวจและประเมินสภาพร่างกายแล้ว ในขั้นตอนแรกสัตวแพทย์จะทำการให้สารน้ำและให้สุนัขดมออกซิเจนเพื่อแก้ไขภาวะ ช็อกก่อน จากนั้นควรตรวจดูว่าหัวใจมีการเต้นที่ผิดปกติหรือไม่ ถ้ามีควรรีบให้ยาในทันที จากนั้นควรรีบทำการระบายแก๊ส ของเหลว และอาหารที่สะสมออกจากกระเพาะโดยการสอดท่อเข้าทางปาก และทำการล้างท้องเพื่อระบายส่วนของอาหารที่มีการหมักอยู่ในกระเพาะออก
และควรรอให้สัตว์อยู่ในสภาวะที่คงที่ก่อนที่จะนำสุนัขเข้าห้องผ่าตัด โดยส่วนใหญ่จะประสบความสำเร็จในการผ่าตัดถ้าทำการแก้ไขภาวะช็อกได้ภายใน 1-2 ชั่วโมงหลังจากตรวจพบอาการ ในกรณีที่สอดท่อเข้าทางปากไม่ได้ เพราะมีการบิดหมุนอย่างถาวร ต้องใช้เข็มเจาะระบายแก๊สในกระเพาะออกก่อนและอาจต้องทำหลายครั้งในระหว่าง ที่รอแก้ไขภาวะช็อก เมื่อสุนัขอยู่ในสภาวะที่คงที่แล้วจึงรีบนำสุนัขเข้าห้องผ่าตัด
จุดประสงค์ในการผ่าตัดนั้น เพื่อแก้ไขตำแหน่งของกระเพาะอาหารให้กลับเข้าที่ และทำการตรวจสอบดูว่ากระเพาะอาหาร และม้ามมีความเสียหายมากน้อยแค่ไหน ถ้า เกิดเป็นเนื้อตายต้องทำการตัดส่วนนั้นทิ้งไป เพื่อป้องไม่ให้เกิดผลกระทบตามมาต่อระบบอื่น ๆ ของร่างกายเมื่อเกิดความเสียหายของอวัยวะนั้นๆ จากนั้นควรทำการเย็บตรึงผนังกระเพาะอาหารกับผนังช่องท้องอย่างถาวร เพื่อป้องกันการบิดตัวของกระเพาะที่มักจะเกิดขึ้นใหม่เสมอ
ภายหลังการผ่าตัดจำเป็นที่จะต้องให้สัตว์พักฟื้นที่โรงพยาบาลและต้องได้รับ การดูแลอย่างใกล้ชิดจากสัตวแพทย์เป็นเวลาอย่างน้อย 48 ชั่วโมง เพื่อให้สารน้ำ ให้ออกซิเจน และปรับสภาพเลือดในร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุล ควรตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อดูว่ามีการเต้นของหัวใจผิดจังหวะหรือไม่ ตรวจเช็คอุณหภูมิของร่างกายและความดันเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติคอยระมัดระวัง ผลแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น เช่น การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร การเกิดเนื้อตายของอวัยวะใกล้เคียง ตรวจเช็คการสร้างแก๊สขึ้นใหม่ในกระเพาะ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ผนังของกระเพาะอาหารยังหดตัวได้ไม่ดีพอภายหลังจากที่ มีการขยายขนาดมาก
นอกจากนี้ ต้องให้ยาแก้ปวดและยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อนตามมา ภายหลังการผ่าตัด 12 ชั่วโมงแรกควรเริ่มให้กินน้ำในปริมาณน้อยแต่วันละหลายครั้ง และเริ่มให้กินอาหารอ่อน ไขมันต่ำ ภายหลังการผ่าตัด ประมาณ 18-24 ชั่วโมง เพื่อฟื้นฟูและเริ่มให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น เมื่อสุนัขเริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติ เริ่มเดินได้กินน้ำและอาหารได้ปกติ จึงค่อยส่งสุนัขกลับบ้าน
หากเจ้าของสุนัขได้อ่านบทความนี้แล้ว หวังว่าเมื่อสุนัขป่วยด้วยโรคกระเพาะบิดจะมีอัตรารอดชีวิตที่ดีขึ้น เพราะส่วนใหญ่ความล้มเหลวในการรักษาโรคนี้เกิดตั้งแต่ที่เจ้าของนำสุนัขส่ง โรงพยาบาลช้าไป หากเกิดกระเพาะบิดมานานกว่า 6-12 ชั่วโมง โดยที่ไม่ได้รับการแก้ไขภาวะช็อกอัตราการตายอาจสูงถึง 50-80% ดังนั้น การทำความเข้าใจในอาการ กลไกการเกิดโรค ผลกระทบที่ตามมา รู้ถึงปัจจัยเสี่ยงและวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะกระเพาะบิด คงช่วยให้เจ้าของสามารถตระหนักและเข้าใจถึงภัยอันตรายเมื่อสุนัขของตนเป็น โรคนี้ได้
แหล่งที่มา http://pet.kapook.com / Dogazine
Dog Care เรื่องโดย : โรงพยาบาลสัตว์บางแค 1เครดิตภาพ https://www.pinterest.com/explore/cute-bulldogs/
No comments:
Post a Comment