เจ้าของสุนัขมีความรู้สึกว่ารักสุนัขเหมือนกับลูก
เมื่อจ้องมองดูมัน
มิ โฮ นางาซาวะ และ ทาเคฟูมิ คิคาซุย นักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยอะซูบะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้ที่รักสุนัขมาก และมีความรู้สึกเช่นเดียวกันนี้ จึงอยากหาคำตอบทางวิทยาศาสตร์ว่า ทำไมผู้ที่เลี้ยงสุนัขจึงรักมันเหมือนกับลูก
มิ โฮ นางาซาวะ และ ทาเคฟูมิ คิคาซุย นักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยอะซูบะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้ที่รักสุนัขมาก และมีความรู้สึกเช่นเดียวกันนี้ จึงอยากหาคำตอบทางวิทยาศาสตร์ว่า ทำไมผู้ที่เลี้ยงสุนัขจึงรักมันเหมือนกับลูก
การทดลองทำโดย
นำเจ้าของและสุนัขจำนวน 55
คู่ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มแรก นักวิทยาศาสตร์ให้เจ้าของเล่นกับสุนัขเป็นเวลาครึ่งชั่วโมง โดยเก็บตัวอย่างปัสสาวะของเจ้าของทั้งก่อนและหลังเล่นกับสุนัข
กลุ่มที่สอง ให้เจ้าของและสุนัขอยู่ในห้องเดียวกัน แต่ไม่ให้เล่น ไม่ให้จ้องตา
ผล ปรากฏว่า เจ้าของสุนัขกลุ่มแรก ที่ระหว่างเล่นได้จ้องตาสุนัขของตนเองเป็นเวลาอย่างน้อย 2 นาทีครึ่ง มีระดับฮอร์โมน "ออกซีโทซิน" สูงขึ้น 20% ซึ่งฮอร์โมน "ออกซีโทซิน" ได้ชื่อว่าเป็น "สารเคมีแห่งความรัก" สามารถลดความเครียด ต้านความหดหู่ และก่อให้เกิดความเชื่อใจระหว่างมนุษย์ด้วยกัน
ส่วนผลของกลุ่มที่สอง พบว่า ระดับ "ออกซีโทซิน" ในปัสสาวะของเจ้าของสุนัขลดลงเล็กน้อย
นอก จากนี้ ยังพบว่า ผู้ที่มองตาสุนัขมาก จะให้คะแนนความสัมพันธ์ระหว่างตนและสุนัขมากกว่าผู้ที่มองตาสุนัขน้อยกว่า นายคิคาซุย กล่าวว่า "จำนวนสารเคมีแห่งความรักที่เพิ่มขึ้น อาจอธิบายได้ว่า ทำไมเมื่อมนุษย์เล่นกับสุนัขแล้วถึงอารมณ์ดีขึ้น ลดความเครียดความวิตกกังวล และเป็นไปได้ว่า เมื่อ 15,000 ปีก่อน ออกซีโทซินมีส่วนสำคัญทำให้มนุษย์เริ่มเลี้ยงสุนัขป่าจนกลายมาเป็นสุนัขบ้าน และมันยังปรับตัวให้เข้ากับสังคมมนุษย์ได้ดี"
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์ข่าวสด / http://www.dmc.tv/forum
กลุ่มแรก นักวิทยาศาสตร์ให้เจ้าของเล่นกับสุนัขเป็นเวลาครึ่งชั่วโมง โดยเก็บตัวอย่างปัสสาวะของเจ้าของทั้งก่อนและหลังเล่นกับสุนัข
กลุ่มที่สอง ให้เจ้าของและสุนัขอยู่ในห้องเดียวกัน แต่ไม่ให้เล่น ไม่ให้จ้องตา
ผล ปรากฏว่า เจ้าของสุนัขกลุ่มแรก ที่ระหว่างเล่นได้จ้องตาสุนัขของตนเองเป็นเวลาอย่างน้อย 2 นาทีครึ่ง มีระดับฮอร์โมน "ออกซีโทซิน" สูงขึ้น 20% ซึ่งฮอร์โมน "ออกซีโทซิน" ได้ชื่อว่าเป็น "สารเคมีแห่งความรัก" สามารถลดความเครียด ต้านความหดหู่ และก่อให้เกิดความเชื่อใจระหว่างมนุษย์ด้วยกัน
ส่วนผลของกลุ่มที่สอง พบว่า ระดับ "ออกซีโทซิน" ในปัสสาวะของเจ้าของสุนัขลดลงเล็กน้อย
นอก จากนี้ ยังพบว่า ผู้ที่มองตาสุนัขมาก จะให้คะแนนความสัมพันธ์ระหว่างตนและสุนัขมากกว่าผู้ที่มองตาสุนัขน้อยกว่า นายคิคาซุย กล่าวว่า "จำนวนสารเคมีแห่งความรักที่เพิ่มขึ้น อาจอธิบายได้ว่า ทำไมเมื่อมนุษย์เล่นกับสุนัขแล้วถึงอารมณ์ดีขึ้น ลดความเครียดความวิตกกังวล และเป็นไปได้ว่า เมื่อ 15,000 ปีก่อน ออกซีโทซินมีส่วนสำคัญทำให้มนุษย์เริ่มเลี้ยงสุนัขป่าจนกลายมาเป็นสุนัขบ้าน และมันยังปรับตัวให้เข้ากับสังคมมนุษย์ได้ดี"
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์ข่าวสด / http://www.dmc.tv/forum
No comments:
Post a Comment