ตามความเชื่อของคนเลี้ยงหมาทั่วไปในการเลือกหมามาเลี้ยงก็จะต้องเลือกเอาหมาเด็กอายุน้อยมาเลี้ยง ด้วยความเชื่อที่บอกต่อกันมาว่า หมาอายุมาก หมาโตเลี้ยงไม่เชื่อง
ฝึกยาก หรือเชื่องยากกว่าลูกหมา ยิ่งเยาว์วัยยิ่งดี หมาจะเชื่อฟัง ซื่อสัตย์
ไม่ดื้อ ไม่กัด ฯลฯ
ปัจจุบันเรากำลังแก้ปัญหาหมาจรจัดด้วยแนวทางที่สำคัญอันหนึ่งคือ "การหาบ้านใหม่ให้หมาจรจัด" เมื่อหมาเหล่านั้นมีบ้านอยู่เป็นหลักแหล่ง มีผู้ดูแลรับผิดชอบ มันก็จะหมดสภาพจรจัดไป หมาจรจัดก็จะลดลง
ปัญหา ก็มีอยู่ว่าหมาจรจัดเหล่านั้นมักเป็นหมาโต มีอายุแล้ว มิใช่ลูกหมา หลายคนยังติดยึดความคิดเดิมๆ ดังข้างต้น ทำให้อัตราการรับหมาเหล่านั้นไปเลี้ยงจากสถานสงเคราะห์สัตว์น้อย ทั้ง ๆ ที่หมาเหล่านั้นถูกคัดเลือกมาโดยผ่านเกณฑ์จัดเป็น "หมานิสัยดี" คือ "ไม่กัดคน ไม่กัดหมา พาจูงได้" มันสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างดี อีกทั้งยังมีอายุพอควรผ่านโลกและโรคมาแล้ว มีภูมิต้านทานโรคภัยไข้เจ็บได้ดี โอกาสเลี้ยงรอดสูงกว่าหมาเด็ก หรือลูกหมาแน่ๆ ฯลฯ
แต่ก็มีบางรายที่รับหมาจรจัดที่เป็นหมาโตไปเลี้ยงแล้วประสบปัญหาบางอย่างที่ มิใช่คุณสมบัติหมานิสัยดี เช่น ขุดคุ้ยถังขยะ กัดขาโต๊ะ ตู้ มุดเข้าไปนอนใต้โซฟาหรือปีนขึ้นไปนอนบนเก้าอี้ ฯลฯ
พฤติกรรมเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่หมาถูกปลูกฝัง หรือติดตัวมาตั้งแต่เป็นหมาจรจัด ดังนั้นหากคุณเข้าใจพื้นฐานพฤติกรรมเหล่านั้น ก็จะค่อย ๆ ช่วยแก้ไขคลี่คลายปัญหาที่กำลังประสบลงได้โดยเสริมกับวิธีหลัก ๆ ดังต่อไปนี้
จัดเตรียมที่ให้หมาใหม่อยู่เป็นสัดส่วน พอเหมาะไม่คับแคบ ไม่ถูกรบกวนด้วยคนหรือสัตว์อื่น รวมถึงเสียงต่างๆ เช่น รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ ฯลฯ คุณสามารถกักให้เขาอยู่ในที่ส่วนตัวนี้ได้เมื่อไม่ต้องการให้เพ่นพ่านเป็น การฝึกนิสัยอย่างหนึ่ง
จัดระเบียบชีวิตหมาให้เป็นไปตามที่คุณจะมีเวลา เช่น กินเป็นเวลา ปล่อยหรือพาไปจูงเดิน หรือเล่นเป็นเวลา ที่ตรงและสม่ำเสมอทุกวัน หมาโตจะรับรู้และเรียนได้เร็วกว่าลูกหมา
สมาชิกในบ้านทุกคนต้องร่วมมือปฏิบัติตามกติกาต่อหมาใหม่ตัวนี้ เช่น ไม่เล่นรุนแรง ไม่ให้อาหารอื่นนอกเหนือจากที่จัดไว้ตามเวลา ให้ความรัก ความอ่อนโยน ที่สำคัญเด็กๆ อย่าเข้าใกล้ จับต้องหรือส่งเสียงก่อกวนเขา เนื่องจากหมาอาจหงุดหงิดได้ ต้องรอให้เขาปรับตัวสักพัก
พาหมาไปจูงสำรวจบริเวณต่าง ๆ ในบ้านและอาณาเขตที่ต้องใส่สายจูงก็เพื่อให้เขารู้ว่าต้องตามและเชื่อฟังผู้ เป็นจ่าฝูงคือคุณ ที่ใดไม่ควรไป ไม่ควรยุ่งเกี่ยวก็พาไปแล้วออกคำสั่ง "ไม่" หรือแสดงสีหน้าท่าทางไม่พอใจ หมาก็จะหยุด เช่น พาไปที่เก้าอี้ หากหมาแสดงท่าจะปีนขึ้นต้องออกคำสั่งและแสดงปฏิกิริยาในเชิงปฏิบัติหรือห้าม ทันที อย่างนี้หมาก็จะเข้าใจ แทนที่จะตีซึ่งหมาไม่รู้เรื่องด้วยเลย
หมาโตส่วนใหญ่จะปรับตัวเข้ากับบ้านใหม่ได้ง่าย หากได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสม สัก 7 วันก็ใช้ได้ แต่หากยังไม่เป็นที่พอใจของคนในบ้านนัก ก็ยังฝึกต่อไป โดยสลับกับการให้อยู่ในที่จำกัดเช่นคราวแรกที่มา
การฝึกหมาให้อยู่ในโอวาท ต้องกระทำ รื้อฟื้น ย้ำทวนอยู่เสมอ อย่าละเลยครับ !
ปัจจุบันเรากำลังแก้ปัญหาหมาจรจัดด้วยแนวทางที่สำคัญอันหนึ่งคือ "การหาบ้านใหม่ให้หมาจรจัด" เมื่อหมาเหล่านั้นมีบ้านอยู่เป็นหลักแหล่ง มีผู้ดูแลรับผิดชอบ มันก็จะหมดสภาพจรจัดไป หมาจรจัดก็จะลดลง
ปัญหา ก็มีอยู่ว่าหมาจรจัดเหล่านั้นมักเป็นหมาโต มีอายุแล้ว มิใช่ลูกหมา หลายคนยังติดยึดความคิดเดิมๆ ดังข้างต้น ทำให้อัตราการรับหมาเหล่านั้นไปเลี้ยงจากสถานสงเคราะห์สัตว์น้อย ทั้ง ๆ ที่หมาเหล่านั้นถูกคัดเลือกมาโดยผ่านเกณฑ์จัดเป็น "หมานิสัยดี" คือ "ไม่กัดคน ไม่กัดหมา พาจูงได้" มันสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างดี อีกทั้งยังมีอายุพอควรผ่านโลกและโรคมาแล้ว มีภูมิต้านทานโรคภัยไข้เจ็บได้ดี โอกาสเลี้ยงรอดสูงกว่าหมาเด็ก หรือลูกหมาแน่ๆ ฯลฯ
แต่ก็มีบางรายที่รับหมาจรจัดที่เป็นหมาโตไปเลี้ยงแล้วประสบปัญหาบางอย่างที่ มิใช่คุณสมบัติหมานิสัยดี เช่น ขุดคุ้ยถังขยะ กัดขาโต๊ะ ตู้ มุดเข้าไปนอนใต้โซฟาหรือปีนขึ้นไปนอนบนเก้าอี้ ฯลฯ
พฤติกรรมเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่หมาถูกปลูกฝัง หรือติดตัวมาตั้งแต่เป็นหมาจรจัด ดังนั้นหากคุณเข้าใจพื้นฐานพฤติกรรมเหล่านั้น ก็จะค่อย ๆ ช่วยแก้ไขคลี่คลายปัญหาที่กำลังประสบลงได้โดยเสริมกับวิธีหลัก ๆ ดังต่อไปนี้
จัดเตรียมที่ให้หมาใหม่อยู่เป็นสัดส่วน พอเหมาะไม่คับแคบ ไม่ถูกรบกวนด้วยคนหรือสัตว์อื่น รวมถึงเสียงต่างๆ เช่น รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ ฯลฯ คุณสามารถกักให้เขาอยู่ในที่ส่วนตัวนี้ได้เมื่อไม่ต้องการให้เพ่นพ่านเป็น การฝึกนิสัยอย่างหนึ่ง
จัดระเบียบชีวิตหมาให้เป็นไปตามที่คุณจะมีเวลา เช่น กินเป็นเวลา ปล่อยหรือพาไปจูงเดิน หรือเล่นเป็นเวลา ที่ตรงและสม่ำเสมอทุกวัน หมาโตจะรับรู้และเรียนได้เร็วกว่าลูกหมา
สมาชิกในบ้านทุกคนต้องร่วมมือปฏิบัติตามกติกาต่อหมาใหม่ตัวนี้ เช่น ไม่เล่นรุนแรง ไม่ให้อาหารอื่นนอกเหนือจากที่จัดไว้ตามเวลา ให้ความรัก ความอ่อนโยน ที่สำคัญเด็กๆ อย่าเข้าใกล้ จับต้องหรือส่งเสียงก่อกวนเขา เนื่องจากหมาอาจหงุดหงิดได้ ต้องรอให้เขาปรับตัวสักพัก
พาหมาไปจูงสำรวจบริเวณต่าง ๆ ในบ้านและอาณาเขตที่ต้องใส่สายจูงก็เพื่อให้เขารู้ว่าต้องตามและเชื่อฟังผู้ เป็นจ่าฝูงคือคุณ ที่ใดไม่ควรไป ไม่ควรยุ่งเกี่ยวก็พาไปแล้วออกคำสั่ง "ไม่" หรือแสดงสีหน้าท่าทางไม่พอใจ หมาก็จะหยุด เช่น พาไปที่เก้าอี้ หากหมาแสดงท่าจะปีนขึ้นต้องออกคำสั่งและแสดงปฏิกิริยาในเชิงปฏิบัติหรือห้าม ทันที อย่างนี้หมาก็จะเข้าใจ แทนที่จะตีซึ่งหมาไม่รู้เรื่องด้วยเลย
หมาโตส่วนใหญ่จะปรับตัวเข้ากับบ้านใหม่ได้ง่าย หากได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสม สัก 7 วันก็ใช้ได้ แต่หากยังไม่เป็นที่พอใจของคนในบ้านนัก ก็ยังฝึกต่อไป โดยสลับกับการให้อยู่ในที่จำกัดเช่นคราวแรกที่มา
การฝึกหมาให้อยู่ในโอวาท ต้องกระทำ รื้อฟื้น ย้ำทวนอยู่เสมอ อย่าละเลยครับ !
แหล่งที่มา คมชัดลึก / กระปุกดอทคอม
โดย ปานเทพ รัตนากร
No comments:
Post a Comment